วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

“รากเหง้าและพัฒนาการของ สอ.มก. : บทเรียนเพื่ออนาคต”


รากเหง้าและพัฒนาการของ สอ.มก. : บทเรียนเพื่ออนาคต

โดย  ศาสตราจารย์พิเศษ อาบ นคะจัด[1]

สมาชิกเลขที่ 77 ของ สอ.มก.

บทที่ 1  รากเหง้าของ สอ.มก.

              เมื่อเห็นหรือได้ยินคำว่า รากเหง้าเราจะคิดถึงต้นไม้ ดังนั้นผู้เขียนขอใช้ ต้นกัลปพฤกษ์ ซึ่งเป็นต้นไม้อยู่ในสวรรค์ ให้ผลสำเร็จความปรารถนา*  เทียบได้กับ สอ.มก. ที่ให้บริการสำเร็จความปรารถนา สอ.มก. เป็นต้นไม้กัลปพฤกษ์ที่ให้บริการสารพัดนึก คือ รับฝากเงินและให้กู้ยืมเงินและเงินทุน โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้จะมาขอบริการต้นกัลปพฤกษ์ ต้องเป็นเทวดา (บุคลากร) สังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เป็นเหมือนแผ่นดินที่อาศัยและผู้ขอใช้บริการนั้นต้องเป็นสมาชิก สอ.มก. ที่เป็นเหมือนรากเหง้าของต้นกัลปพฤกษ์ คือ สอ.มก. อีกด้วย

              เพื่อประกอบความเข้าใจ ขอให้ดูต้นกัลปพฤกษ์ ดังนี้

              (1)  รากเหง้า คือมวลสมาชิก สอ.มก. (2) แผ่นดิน สำหรับรากเหง้าอาศัยเจริญงอกงามคือ มก. (3) ลำต้น คือ สินทรัพย์ของ สอ.มก. (4) กิ่งก้าน คือพนักงานเจ้าหน้าที่ของ สอ.มก. และ (5) ใบ คือคณะกรรมการดำเนินการ สอ.มก.  ซึ่งทำหน้าที่สังเคราะห์แสง ทำหน้าที่ดูดน้ำและระบายน้ำเลี้ยงรากเหง้า ลำต้น และกิ่งก้าน ทำหน้าที่หายใจ ฯลฯ คณะกรรมการจึงมีบทบาทสำคัญมากสำหรับพัฒนาการของ สอ.มก. ตลอดเวลา

 

บทที่  2  พัฒนาการของ สอ.มก.

ตารางที่  1  แสดงพัฒนาการด้านสมาชิกและด้านการเงินของ สอ.มก. ผู้เขียนได้แสดงไว้ 12 รายการในตารางที่ 1  รายการดังกล่าวคือ จำนวน สมาชิก ทุนเรือนหุ้น เงินรับฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ทุนสำรอง ทุนสะสมอื่นๆ สินทรัพย์  กำไรสุทธิ  เงินให้กู้แก่สมาชิก  เงินให้กู้แก่สหกรณ์อื่น  เงินลงทุนในตราสารการเงิน  และประมาณการเพิ่มขึ้นของทุนเรือนหุ้น  เงินรับฝาก  สินทรัพย์ และเงินให้กู้และลงทุน 5 ปีข้างหน้า (ปี 2555 – 2559)

              ที่แสดงข้อมูลตัวเลขไว้ในตารางที่ 1 ก็เพื่อให้เห็นโครงสร้างและความเติบโต หรือแนวโน้มทางการเงินของ สอ.มก.

ตารางที่  2  แสดงให้เห็นพัฒนาการของ สอ.มก. นโยบายและมาตรการด้านตลาดและการตลาดของ สอ.มก.  ตลาด มี 3 ตลาดคือ (1) ตลาด สอ.มก.  (2) ตลาดสหกรณ์อื่น และ (3) ตลาดตราสารการเงิน  ส่วนการตลาด คือ การนำสินค้าเงินและเงินทุนไปสู่ตลาดดังกล่าวโดยขายสินค้ามีราคาและจำนวนแตกต่างกันไปตามกรณีที่ลูกค้าต้องการ ข้อมูลตัวเลขในตารางที่ 2 นี้ แสดงชัดแจ้งว่าคณะกรรมการดำเนินการ สอ.มก. ไม่สนใจตลาดสหกรณ์อื่นเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดสหกรณ์ภาคการเกษตรทั้งที่ มก. จัดตั้งขึ้นมาก็เพื่อให้สอนวิชาการด้านการเกษตร ให้ศึกษาวิจัยในด้านการเกษตร ให้ส่งเสริมเผยแพร่วิชาการด้านการเกษตร และให้ทำนุบำรุงวัฒนธรรมด้านการเกษตร ซึ่งหมายความว่าให้พัฒนาการเกษตร, พัฒนาชุมชนเกษตร และพัฒนาเกษตรกรของประเทศไทย

              โดยสรุป เมื่อปีทางบัญชี 2554 ที่ผ่านมา สอ.มก. มีรายได้โดยเฉลี่ยวันละ 2.58 ล้านบาท มีรายจ่ายวันละ 1.19 ล้านบาท และมีกำไรวันละ 1.39 ล้านบาท

              ในปีทางบัญชี 2555 สอ.มก. ประมาณการว่าจะมีรายได้วันละ 3.01 ล้านบาท มีรายจ่ายวันละ 1.54 ล้านบาท และมีกำไรวันละ 1.47 ล้านบาท

ตารางที่ 1   พัฒนาการของ สอ.มก. 5 ปี (.. 2550-2554)

รายการ
หน่วยนับ
ปี
เพิ่ม (ลด)
% เพิ่ม (ลด) เฉลี่ยต่อปี (5 ปี)
 
2550
2554
สมาชิก
คน
6,171
8,230
2,059
6.67
ทุนเรือนหุ้น
ล้านบาท
2,634.98
4,386.84
1,751.86
13.30
เงินรับฝาก
""
8,622.51
11,179.43
2,556.92
5.93
ตั๋วสัญญาใช้เงิน
""
-
799.35
799.35
100.00
ทุนสำรอง
""
411.29
656.04
244.75
11.90
ทุนสะสมอื่นๆ
""
89.95
126.20
36.25
40.30
สินทรัพย์
""
12,604.92
19,629.05
7,024.13
11.14
กำไรสุทธิ
""
291.57
508.17
216.60
14.86
เงินให้กู้แก่สมาชิก
""
2,511.90
3,504.00
992.51
7.90
เงินให้กู้แก่สหกรณ์อื่น
""
3,768.89
1,987.16
(1,781.73)
(9.45)
เงินลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้
""
5,059.58
12,367.44
7,307.86
28.90

 

 

ประมาณการเพิ่มขึ้นของทุนเรือนหุ้น  เงินรับฝาก สินทรัพย์และเงินให้กู้และลงทุนของ สอ.มก. 5 ปี (.. 2555-2559) บนฐานอัตรา % เพิ่มช่วงปี 2550-2554

รายการ
ปี 2554
2555
2556
2557
2558
2559
-----------------------------------ล้านบาท----------------------------------------
ทุนเรือนหุ้น
4,387
4,970
5,631
6,380
7,229
8,191
เงินรับฝาก
11,179
11,841
12,544
13,288
14,075
14,910
สินทรัพย์
19,629
21,815
24,245
26,946
29,948
33,285
เงินให้กู้และลงทุน
17,655
19,168
21,801
24,228
26,924
29,921
ที่มา : (1) ตัวเลขดิบจากรายงานกิจการประจำปีของ สอ.มก.,
       (2) ตัวเลขคำนวณและประมาณการ และรูปแบบตารางโดย อาบ นคะจัด

 

ตารางที่ 2  รายได้ รายจ่าย และกำไร ปี 2554 และประมาณการปี 2555

รายการ
ข้อมูลปี 2554
ประมาณการ ปี 2555
รายได้
ล้านบาท
ล้านบาท
ดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่สมาชิก
238.47
290
ดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่สหกรณ์อื่น
86.87
90
ดอกเบี้ยเงินฝาก ผลตอบแทนการลงทุน
2.17
0.0
(ตราสารทุนและตราสารหนี้)
615.05
720
 
942.56
1,100
รายจ่าย
 
 
ดอกเบี้ยจ่าย
381.36
502
ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน
53.03
63
 
434.39
565
กำไรสุทธิ
508.17
535

 

สรุป
ปี 2554
(ล้านบาท)
ประมาณการปี 2555
(ล้านบาท)
รายได้วันละ
2.58
3.01
รายจ่ายวันละ
1.19
1.54
กำไรวันละ
1.39
1.47

ที่มา : (1)   ตัวเลขข้อมูลปี 2554 และประมาณปี 2555 จากรายงานกิจการประจำปี 2553 และปี 2554 ของ

              สอ.มก.

       (2)  ตัวเลขคำนวณและรูปแบบตารางโดย อาบ นคะจัด

 

บทที่ 3  บทเรียนเพื่ออนาคต

              ข้อความรู้เรื่องรากเหง้าของ สอ.มก. และพัฒนาการของ สอ.มก. ที่แสดงไว้ในตารางที่ 1 และตารางที่ 2 ตามลำดับนั้น เป็นบทเรียนเพื่อให้พวกเรามวลสมาชิก สอ.มก. สำนึกดังต่อไปนี้

              (1)  มก. คือแผ่นดินที่ให้กำเนิดและความเจริญงอกงามของต้นกัลปพฤกษ์ คือ สอ.มก. คนที่เป็นสมาชิก สอ.มก. ก็ต้องเป็นคนของ มก. เงินค่าหุ้นและเงินฝากของสมาชิก ก็ได้มาจากเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินอื่นๆ ที่ มก. จ่ายให้

              (2)  พัฒนาการของ สอ.มก. ด้านสมาชิกและด้านการเงิน ก็ต้องพึ่งพัฒนาการด้านบุคลากรและด้านงบประมาณและรายได้และรายจ่ายของ มก. (ดูตารางที่ 3)

              สรุปได้ว่า อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของ สอ.มก. ต้องขึ้นอยู่กับอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของของ มก. ถ้าไม่มี มก.  สอ.มก. จะอยู่ได้ฤา?

 

บทที่ 4  ข้อเสนอแนะ

              ในฐานะวิทยากรในการเสวนาในวันนี้ และภายใต้สัจจธรรมของสิ่งไม่มีชีวิตและของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษยชาติและสถาบันของมนุษยชาติ คือ อดีตสร้างปัจจุบัน และปัจจุบันสร้างอนาคต สืบต่อกันไปไม่หยุดยั้ง

              เพื่อทำนุบำรุงแผ่นดินที่ต้นกัลปพฤกษ์อาศัยอยู่ และเพื่อให้ปัจจุบันของ สอ.มก. และ มก. เป็นกลไกสร้างอนาคตที่ดีแบบยั่งยืนร่วมกัน ผมขอให้ สอ.มก. ดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อจัดตั้ง กองทุนสร้างสรรค์พันธกิจร่วมกันของ สอ.มก. และ มก. ภายใต้ทฤษฎีต่างก็ได้ประโยชน์ (Win-Win Theory) โดยดำเนินการเป็นขั้นตอนดังนี้

              (1)  สอ.มก. ต้องขยายตลาดและการตลาดกับสหกรณ์อื่นให้มีจำนวนตลาดและจำนวนเงินให้สินเชื่อภายในกำกับ (Supervised Credit) มากขึ้น จนทำให้เงินให้สินเชื่อแก่สมาชิกของตน และเงินให้สินเชื่อแก่สหกรณ์อื่น รวมกันไม่น้อยกว่า 60% และให้เงินลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้ไม่เกิน 40%

              (2)  ภายใต้ (1) ให้ สอ.มก. จัดตั้งกองทุนสร้างสรรค์ฯดังกล่าว โดยหักเงินรายได้จากดอกเบี้ยเงินให้กู้แก่สหกรณ์อื่น และจากผลตอบแทนการลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้รวมกัน เช่น ในปี 2555 จะมีรายได้จากสหกรณ์อื่นและจากเงินลงทุน 810 ล้านบาทดังกล่าว (ดูตารางที่ 2 : ประมาณการปี 2555) ในอัตรา 0.5% จะได้เงินเข้ากองทุน 4.05 ล้านบาท (810x0.5) หากรายได้จากที่มาทั้งสองตลาดดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย 810 ล้านบาท ภายใน 5 ปี ก็จะมีเงินเข้ากองทุน 20.25 ล้านบาท

              หรืออีกวิธีหนึ่ง สอ.มก. จะจัดสรรเงินที่จะให้กู้แก่สหกรณ์อื่น และเงินที่จะลงทุนในตราสารการเงิน ในปีทางบัญชีไว้ล่วงหน้าเลยอีกจำนวนหนึ่ง เช่น 810 ล้านบาท และหักเงินดอกเบี้ยที่ได้จากเงิน 810 ล้านบาทนั้น ในอัตรา 0.5% ก็จะได้เงินเข้ากองทุนปีละ 4.05 ล้านบาท รวมเป็น 20.25 ล้านบาทภายใน 5 ปี เช่นเดียวกัน

              (3)  ให้คณะกรรมการดำเนินการ สอ.มก. เป็นผู้พิจารณาเสนอเรื่องนี้ให้ที่ประชุมใหญ่สามัญปี 2555 พิจารณาอนุมัติ หรือให้พวกเราสมาชิกลงชื่อร่วมกันเสนอให้คณะกรรมการนำเรื่องเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญดังกล่าวก็ได้

              (4)  เงินกองทุนสร้างสรรค์ ดังกล่าวนี้ จะจัดสรรให้เป็นเงินศึกษาวิจัยแก่นิสิตปริญญาตรีที่มีอาจารย์ควบคุมฝึกงาน หรือแก่นิสิตปริญญาโท หรือปริญญาเอกที่จะศึกษาวิจัยโดยไปใช้สหกรณ์การเกษตรที่ สอ.มก. ให้สินเชื่อในกำกับเป็นห้องทดลองเชิงวิทยาศาสตร์และสังคม ส่วนสหกรณ์อื่นนอกภาคเกษตรก็อาจให้ทุนเพื่อการศึกษาวิจัยได้เหมือนกัน แต่ควรไม่เกิน 30% ของจำนวนกองทุนที่มีในแต่ละปีทางบัญชี

              (5)  ให้ สอ.มก. ร่วมกับ มก. จัดวางระเบียบการใช้จ่ายเงินกองทุนดังกล่าวใน (4)

              (6)  ให้ สอ.มก. ร่วมกับ มก. จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะกิจขึ้นพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนดังกล่าว ภายใต้ระเบียบดังกล่าวใน (5) ให้แก่ผู้ขอเงินกองทุนไปใช้ดังกล่าวใน (4)

 
ตารางที่  3  ประมาณการจำนวนนิสิต   รายได้  รายจ่าย ของ มก. 5 ปี ของ มก.
นิสิต : (คน)
2554
2555
2556
2557
2558
เฉลี่ย
จำนวน
จบปริญญา
8,264
8,158
7,853
7,866
7,984
8,025
เข้าใหม่
12,745
13,130
13,258
13,378
13,462
13,195
มีอยู่เดิม
42,731
43,026
42,980
43,305
43,703
44,149
รวม
เข้าใหม่ +มีเดิม
55,476
56,156
56,238
56,683
57,165
57,344

 

รายได้  รายจ่าย  สูง (ต่ำ) กว่ารายได้
(ล้านบาท)
ปี
รายได้
รายจ่าย
สูง (ต่ำ) กว่ารายได้
ดัชนี
2554
3,660.13
3,311.04
349.09
100.00
2555
3,757.93
3,434.01
323.92
93.00
2556
3,826.82
3,160.03
666.79
191.01
2557
3,946.60
2,994.98
951.62
273.00
2558
4,055.83
3,061.15
994.60
286.34
เฉลี่ย
ปีละ
3,849.46
3,192.25
657.80
188.43
เดือนละ
321.00
266.00
55.00
วันละ
10.54
8.74
1.8
รายได้ รายจ่าย  สูง (ต่ำ) กว่ารายได้ ต่อนิสิตเข้าใหม่และมีอยู่เดิม (บาท)
(บาท)
ปี
รายได้
รายจ่าย
สูง (ต่ำ) กว่ารายได้
 
2554
65,977
59,684
6,293
2555
66,919
61,151
5,763
2556
68,047
56,190
11,856
2557
69,626
52,837
16,788
2558
70,949
53,549
17,399
เฉลี่ยปีละ
68,304
56,682
11,620
ที่มา : (1) กองแผนงาน สนง.อธิการบดี มก.  เอกสารงบประมาณรายได้ประจำปีงบประมาณ 2555
       ภาคปกติ; (2) ตัวเลขคำนวณ รายได้ รายจ่าย สูง (ต่ำ) กว่ารายได้ ต่อนิสิตและรูปแบบ
       ตารางโดย  อาบ นคะจัด



[1] นายกสมาคมเศรษฐศาสตร์สหกรณ์แห่งประเทศไทย, ประธานมูลนิธิไชยงค์ ชูชาติ เพื่อสงวนและพัฒนาที่ดินเกษตรในอุปถัมภ์ของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.), ที่ปรึกษาสมาคมเศรษฐศาสตร์เกษตรแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ฯลฯ
* นายเปลื้อง นคร, ปทานุกรมนักเรียน, สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น