วันอาทิตย์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สหกรณ์ย่อมซื้อหุ้นของสหกรณ์อื่นได้


สหกรณ์ย่อมซื้อหุ้นของสหกรณ์อื่นได้

ศาสตราจารย์พิเศษ อาบ นคะจัด (77)

นายกสมาคมเศรษฐศาสตร์สหกรณ์แห่งประเทศไทย

          ผมได้อ่านบทความชื่อว่า “เรื่องหุ้นๆ ในสหกรณ์” ในข่าว สอ.มก. สิงหาคม 2555 โดย “ครูรงค์” ซึ่งนำเอาบทบัญญัติมาตรา 33 (2) และ (3) ของ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 ที่เป็นเรื่องหรือประเด็นการจัดตั้งและจดทะเบียนสหกรณ์ (การเกิดเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายสหกรณ์) มาปรับกับบทบัญญัติมาตรา 62 (5) ที่เป็นเรื่องหรือประเด็นการดำเนินงานของสหกรณ์ หลังจากได้สภาพเป็นนิติบุคคลแล้ว ครูรงค์เหมือนเข้าใจว่าบทบัญญัติสองมาตราของกฎหมายนั้นขัดกันอยู่เป็นผลให้สหกรณ์ที่ซื้อหุ้นจะไม่ได้สถานภาพเป็นสมาชิกของสหกรณ์ที่ขายหุ้น

        ความจริงมาตรา 33 (2) และ (3) เป็นประเด็นการได้สภาพเป็นนิติบุคคลในรูปสหกรณ์ ส่วนมาตรา 62 (2) เป็นประเด็นความสามารถ (กระทำการ) ของนิติบุคคลสหกรณ์ในแนวทางที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) บัญญัติไว้ในลักษณะ 2 หมวด 1 ส่วนที่ 1 ว่าด้วยสภาพบุคคลธรรมดา และส่วนที่ 2 ว่าด้วยความสามารถ (กระทำการ) ของบุคคลธรรมดา

        ภายใต้กฎหมายสหกรณ์และข้อบังคับของสหกรณ์ สหกรณ์ใดจะนำเงินของสหกรณ์ไปซื้อหุ้นของสหกรณ์อื่นได้ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์นั้น จะต้องพิจารณาอนุมัติก่อนว่าสินค้า (goods) หรือบริการ (Services) ของสหกรณ์อื่นนั้น จะเป็นผลประโยชน์แก่สหกรณ์ของตนเพียงใดหรือไม่ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำกัด (สอ.มก.) ย่อมซื้อหุ้นของสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำกัด (สร.มก.) ได้เพราะว่า สอ.มก. จะได้ผลประโยชน์ในการซื้อหุ้นและเป็นสมาชิกของ สร.มก. จากการซื้อวัตถุสินค้า อุปโภคบริโภคต่างๆ ในแต่ละปีการบัญชีของ สร.มก. นั้น สอ.มก. จะได้ประโยชน์ คือ เงินปันผลตามหุ้น และเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนแห่งการซื้อสินค้าโดยไม่ต้องคำนึงเรื่องเขตแดนดำเนินการ หรือข้อบังคับของตนว่าด้วยการขายหุ้นให้แก่สหกรณ์อื่นไว้โดยชัดแจ้ง หรือไม่ก็ตามคณะกรรมการดำเนินการ สร.มก. ย่อมมีอำนาจอนุมัติให้ สร.มก. ขายหุ้นให้ สอ.มก. ได้ ตามบทบัญญัติมาตรา 62 (5) ของ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 และหมายความว่า สร.มก. อนุมัติให้ สอ.มก. เป็นสมาชิกของตนได้ ส่วน สอ.มก. ก็สามารถส่งผู้แทนของตนตามบทบัญญัติ มาตรา 51 ของ พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542 ไปร่วมประชุมต่างๆ ของ สร.มก. รวมทั้งเป็นกรรมการคนหนึ่งในคณะกรรมการต่างๆ ที่ สร.มก. อาจแต่งตั้งขึ้นก็ได้

        สหกรณ์ประเภทร้านค้าและสหกรณ์ ประเภทบริการ  ย่อมมีอำนาจหน้าที่ที่จะขายหุ้นของตนให้แก่สหกรณ์อื่นได้ หากสหกรณ์อื่นยื่นคำขอซื้อหุ้นของตนภายใต้บทบัญญัติมาตรา 62 (5) ของ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. 2542

        เช่นถ้ามีสหกรณ์ผู้ประกอบการอู่ซ่อมรถ; สหกรณ์บริการการบัญชีและการตรวจสอบกิจการ; สหกรณ์โรงพยาบาล  สหกรณ์อื่นที่เห็นว่าจะได้ผลประโยชน์จากบริการของสหกรณ์บริการดังกล่าว ก็อาจซื้อหุ้นของสหกรณ์นั้นๆ ได้ตามบทบัญญัติมาตรา 62 (5) แห่ง พ.ร.บ. สหกรณ์ พ.ศ. 2542

วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตรวจสุขภาพง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง


ตรวจสุขภาพง่ายๆ ได้ด้วยตัวเอง


ดวงตา : รอยหมองคล้ำรอบดวงตา (หมีแพนด้า) เกิดจากกรรมพันธุ์ ระบบการทำงานของไตที่มีปัญหา (คุณอาจดื่มน้ำน้อย) หรืออาจเริ่มเป็นโรคภูมิแพ้ (ในกรณีที่ไม่ได้อดนอน) ดังนั้นแนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด่วน

หน้าผาก : เมื่อคุณรู้สึกว่าผิวบริเวณหน้าผากแห้งหรือมีสิวอักเสบผุดขึ้นมา แสดงว่าระบบย่อยอาหารหรือกระเพาะปัสสาวะของคุณเริ่มแปรปรวน ดังนั้นควรรีบดื่มน้ำให้มาก รวมทั้งหมั่นออกกำลังกายและทานอาหารที่มีประโยชน์เข้าไว้

แก้ม :  หากบริเวณแก้มมีสีหมองคล้ำ(กว่าปรกติที่เป็น) นั่นคือผลลัพธ์จากการสูบบุหรี่หรือคุณอาจเจอกับอาการภูมิแพ้เข้าให้แล้ว เพราะบริเวณแก้มนั้นเกี่ยวเนื่องกับระบบทางเดินหายใจและปอด

รักแร้ : หากคุณรู้สึกสากผิวบริเวณรักแร้และสีผิวนั้นเริ่มดำขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ อาจเป็นไปได้ว่าคุณเริ่มมีอาการโรคเบาหวาน ให้รีบไปเจาะเลือดเพื่อตรวจหาค่าน้ำตาลในเลือดดู...ว่าตกลงเป็นเบาหวานหรือคุณใช้โรลออนมากเกินความจำเป็น

     เห็นกันแล้ว...ว่าการตรวจร่างกายเบื้องต้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด ดังนั้นควรหมั่นเช็คร่างกายด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ และหากพบอาการผิดปรกติขึ้นมาแนะนำให้รีบไปปรึกษาแพทย์ด่วน...ด้วยความปรารถนาดีจาก คุณจริยา  อยู่ขวัญ (7529)

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กรณีศึกษา ๑๐ ประการ นอกบันทึกช่าง จากเหตุการณ์น้ำท่วมบ้านเรือนปี ๒๕๕๔


กรณีศึกษา ๑๐ ประการ  นอกบันทึกช่าง

จากเหตุการณ์น้ำท่วมบ้านเรือนปี ๒๕๕๔

 

เกริ่นนำ : ปลายปี ๒๕๕๔ เกิดอุทกภัยบริเวณภาคเหนือและภาคกลางบางจังหวัดของประเทศไทย และมีการ ท่วมขังด้วยเวลาเนิ่นนานบริเวณกรุงเทพและเขตปริมณฑล ทำให้บ้านเรือนเกิดความเสียหาย ซึ่งมีหนังสือเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วม การอยู่กับน้ำท่วม และการซ่อมแซมบ้านหลังน้ำท่วม ออกมาให้ความรู้อยู่หลายเล่ม บางฉบับมีจำนวนพิมพ์เกินกว่า ,๐๐๐,๐๐๐ เล่ม  เพราะประชาชนมีความเดือดร้อนมากมาย

แต่มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจบางประการที่ไม่มีบันทึกไว้ในเอกสารเชิงช่าง ถึงผลและเหตุและวิธีการแก้ไข ในสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่การป้องกันก่อนน้ำท่วมบ้านจนถึงหลังจากน้ำท่วมบ้านและน้ำลดแล้ว ซึ่งบันทึกนี้เป็นการรวมกรณีศึกษาที่น่าสนใจบางประการในเชิงช่าง(ก่อสร้าง)เอาไว้ นอกเหนือจากหนังสือและบทความต่างๆที่ได้ออกมาในก่อนปี ๒๕๕๔ (และก่อนหน้านั้น)  โดยหวังว่ากรณีศึกษาที่บันทึกนี้จะเป็นประโยชน์ในอนาคตของผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน  อย่างแน่นอน  อย่างแน่นอน

กรณีศึกษาที่ : อันตรายของไฟฟ้ายังคงมีอยู่แม้จะจะปิดวงจรไฟฟ้าหลักไปแล้ว

ปรากฏในเอกสารแนะนำเรื่องความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าขณะน้ำท่วมทุกเล่ม จะเป็นเรื่องของการบิดวงจรไฟฟ้าหลัก (Main circuit breaker, Cutout) เพื่อไม่ให้เกิดไฟฟ้ารั่วมาทำอันตราย หรือจะต้องมีการปิดวงจรในส่วนที่อยู่ต่ำและอยู่ใกล้ระดับที่น้ำท่วมถึง  แต่พบว่าอันตรายที่เกิดขึ้น ไม่ได้เกิดจากวงจรไฟฟ้าภายในบ้าน แม้จะมีการปิดวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของบ้านแล้ว แต่อันตรายที่เกิดขึ้นเกิดจากสายไฟฟ้าหลักที่เดินจากมิเตอร์ฟ้าหน้าบ้าน (มิเตอร์ของการไฟฟ้า) ไปสู่แผงวงจรไฟฟ้าหลักของบ้าน เพราะเป็นช่วงที่สายไฟฟ้าไม่มีการควบคุมการปิดเปิดส่งกระแสไฟ กระแสไฟฟ้าจะเดินอยู่ในสายตลอดเวลา และพบว่าบริเวณที่มักเกิดอันตรายจากไฟฟ้ารั่วคือสายไฟที่เดินใต้ดิน และสายไฟที่เดินแนบรั้วบ้าน

สายไฟที่เดินใต้ดิน หากไม่มีการทำรางรองที่แข็งแรงพอ ยามน้ำท่วม ดินอ่อนตัว ทำให้รางที่รองสายไฟ และ/หรือ ตัวสายไฟเองจะมีการทรุดตัว สายไฟตึงตัว อาจทำให้ข้อต่อของสายหลุดหรือสายไฟขาด และกระแสไฟฟ้าก็จะรั่วออกมาเป็นอันตราย

ส่วนสายไฟที่เดินริมรั้ว ส่วนใหญ่จะเป็นสายไฟที่มีอายุเกินกว่า ๑๐ ปี ซึ่งเมื่อโดนแดด โดนฝน และรับความร้อนที่ถ่ายจากรั้ว (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคอนกรีต และเป็นตัวเก็บความร้อน (Thermal Mass) อย่างดี) ตัวฉนวนก็จะมีการหมดอายุ จะแข็งตัว และมีการแตกลายงาเกิดขึ้น ทำให้บางส่วนเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วได้ ยามเมื่อรั้วที่โดนน้ำท่วมนานๆ ความชื้นจากน้ำท่วมอาจจะวิ่งขึ้นตอนบนของรั้วเข้ามาถึงบริเวณที่เดินสายไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าก็จะมีการรั่วในบริเวณนั้นได้

แนวทางการป้องกันอันตราย ทำได้ค่อนข้างยากมาก เนื่องจากผู้ปิดเปิดกระแสไฟฟ้าที่มิเตอร์ไฟฟ้า เป็นเรื่องของการไฟฟ้าฯ ซึ่งการไฟฟ้าก็ไม่ต้องการปิดการส่งกระแสไฟฟ้า เพราะจะทำให้เกิดความเดือดร้อนด้านอื่นมากขึ้น ดังนั้นเจ้าของบ้านจึงต้องเตรียมการล่วงหน้าก่อนน้ำท่วมนานพอสมควร คือการตรวจหรือเปลี่ยนหรือปรับปรุงอาคารและสายไฟฟ้า (ซึ่งต้องใช้งบประมาณก่อสร้างและช่างผู้มีความชำนาญ) เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายตามที่กล่าวข้างต้น หากไม่มีการปรับปรุงซ่อมแซมก่อนที่น้ำจะท่วม ผู้ที่อยู่อาศัยหรือเข้าไปในตัวบ้าน จะต้องใช้ การหลีกเลี่ยงภัย  มากกว่า การป้องกันภัย 


กรณีศึกษาที่ : การล้างบ้านที่ถูกวิธีเป็นปัญหาที่มีการถกเถียงกันมากที่สุดหัวข้อหนึ่ง

เป็นเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่อง การทำความสะอาดบ้านที่มีการถกเถียงกันมากมายกระจายทั่วไปทุกระดับ นักวิชาการระดับชาติหลายคนอออกความเห็นถึงวิธีการและ น้ำยา ในการทำความสะอาดบ้านว่าน่าจะเป็นอย่างไร มีการโต้เถียงกันในระดับผู้ใหญ่ของชาติถึงวิธีกรรมที่แตกต่างกันไป มีการโต้ตอบกันทางสื่อมวลชน จนกระทั่งผ่านไปนานพอสมควร จึงหาบทสรุปได้จากทางสถาปนิกอาสา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ และทาง .... (สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) จึงสรุปวิธีการแบบสำนวน หมอบ้านโดยสังเขปว่า....

ขั้นตอนที่ : เข้าไปในบ้านเราโดยการ ใส่รองเท้า ห้ามเดินเท้าเปล่า เพราะอาจจะมีเศษแก้วหรือเศษขยะที่อาจจะทำให้เราเกิดการบาดเจ็บได้ ต้องใส่รองเท้าที่แน่ใจว่า ไม่ลื่น เพราะพื้นจะลื่นมากจากตะไคร่และดินโคลน มีปรากฏว่าเกิดการหกล้มและบาดเจ็บแล้ว และมี ผ้าปิดปาก-จมูกปิดไปด้วยเพื่อป้องกันเชื้อโรคต่างๆ (รวมถึงเหล่าเชื้อราในอากาศด้วย) ทั้งนี้ห้ามเข้าไปคนเดียว เนื่องจากหากเกิดอุบัติเหตุหรืออันตรายใดๆ จะได้มีการช่วยเหลือกันได้  และจะต้องมี ท่อนไม้ หรือวัสดุคล้ายกันติดมือไปด้วย เพื่อใช้ในการพยุงตัว หรือเขี่ย หรือต่อสู้กับบางสิ่งที่จะเกิดขึ้น หากมีเครื่องมือสื่อสารเช่นโทรศัพท์มือถือติดตัวไปด้วยก็ยิ่งดี (เตรียมหมายเลขที่เราจะสามารถติดต่อได้สะดวกแบบกดทีเดียวโดยไม่ต้องหาหมายเลข ก็จะดีมากครับ)

ขั้นตอนที่ : ต้องระวังเรื่อง ไฟฟ้าที่อาจจะมีกระแสไฟฟ้ารั่วอยู่ แต่ยามน้ำลดแล้ว อันตรายจากกระแสไฟฟ้าที่อยู่ในน้ำท่วมอาจจะน้อยลง แต่ก็ต้องระวังตามส่วนของอาคารที่ชื้นๆ อาจะมีกระแสฟ้ารั่วอยู่ก็ได้ อย่าเดินเข้าใกล้สายไฟฟ้าที่มาจากมิเตอร์นอกบ้านสู่สะพานไฟหลัก ทำการ ปิดคัทเอาท์ หรือวงจรไฟฟ้าหลัก ของบ้านเสียก่อน (แปลว่าต้องเข้าไปในบ้านตอนกลางวันนะครับ) อาจจะใช้ท่อนไม้แห้งๆ ดันปิดวงจรไฟฟ้าหลักก็ได้ในกรณีที่วงจรไฟฟ้ามีไฟฟ้ารั่วอยู่ และหากวงจรไฟฟ้าหลักถูกปิดเอาไว้แล้ว ก็อย่าเพิ่งเปิดครับ

ขั้นตอนที่ :  ต้องสำรวจดูอย่างดีว่า มี งูเงี้ยวเขี้ยวขอ หรือสัตว์ต่างๆหลบซ่อนตัวอยู่ในบ้านเราหรือไม่ โดยการส่งเสียงดัง หรือใช้ท่อนไม้ที่ติดมือไปเคาะตามจุดต่างๆ เช่นใต้บันได หลังเฟอร์นิเจอร์ หรือแม้กระทั่งในฝ้าเพดาน เป็นต้น หากระบบประปาของเรายังใช้ได้ ก็ต่อสายยางเพื่อทำการ ฉีดน้ำเข้าตามซอกต่างๆ (และเพื่อไล่ความสกปรกด้วย) หากสัตว์ร้ายเขาปรากฏตัว ก็ต้องหาวิธีดำเนินการตามสมควร โดยมีเจ้าท่อนไม้ที่เราติดตัวไปป้องกันตัว หากเขาหนีไปที่อื่น กรุณาสังเกตดูด้วยครับว่าเขาหนีไปทางไหน จะได้ไม่ต้องไปเจอเขาอีก

ขั้นตอนที่ : ทำความสะอาดบ้านตามวิธีที่เราถนัด โดยการ กวาดขยะ ออกจากบริเวณต่างๆให้หมด (พยายามรวมขยะเอาไว้เป็นจุดๆ เพื่อนำไปทิ้งอย่างเป็นระบบ) อย่าใจร้อน ค่อยๆทำไปเรื่อยๆ แล้วก็เอา น้ำยาที่มีส่วนผสมของ กรดเช่นน้ำส้มสายชู ผงฟูทำขนมปัง (baking soda) หรือน้ำยาทำความสะอาด ทำการล้าง (และขัด) ส่วนต่างๆให้สะอาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นวิธีการที่ง่ายและประหยัดที่สุด หลังจากนั้นจะต้องเปิดประตูหน้าต่างให้อากาศถ่ายได้ จะทำให้เหล่าตะไคร่และเชื้อราจะหายไป (และไม่เติบโตขึ้นมาอีก)

ขั้นตอนที่ : ทำข้อ ไปเรื่อยๆ ช่วยๆกันทำ แล้วก็ทิ้งให้แห้ง แล้วก็เก็บกวาดเช็ดถูต่อไปอีกสัก - ครั้ง  อย่าอารมณ์เสีย อย่าท้อถอย  ทำไปเรื่อยๆ อะไรที่ไม่แน่ใจว่าจะเก็บหรือจะทิ้ง ก็วางเรียงไว้นอกบ้านก่อนก็ได้ (แต่อย่าเพิ่งสนใจมากในตอนแรกครับ) ไม่นานเราก็จะได้บ้านที่สะอาดกลับคืนมา

   หมายเหตุ : การจดบันทึกจุดต่างๆ ที่มีปัญหาพร้อมการถ่ายภาพเอาไว้ จะทำให้การทำความสะอาดมีระบบมากขึ้น มีการแบ่งงาน ช่วยกันทำงาน ทำงานไม่ซ้ำซ้อนกัน และเป็นข้อมูลเพื่อเป็นกรณีศึกษาให้กับเพื่อนบ้านหรือคนรู้จักที่กำลังจะทำความสะอาดบ้าน ตลอดจนจะเป็นบันทึกไว้ใช้ในปีต่อไป     ที่มีโอกาสที่น้ำจะมาท่วมบ้านอีกครั้งหนึ่ง (หรือหลายๆๆๆๆครั้ง)


กรณีศึกษาที่ :  รั้วบ้านที่มีสนามหญ้าโดยปกติ ไม่สามารถป้องกันน้ำเข้าบ้านได้

การป้องกันน้ำโดยการกั้นรั้วหรือเขื่อนขนาดใหญ่และแข็งแรง เป็นที่นิยมทำกันตามนิคมอุตสาหกรรมและสถานที่สำคัญ แต่ในกรณีของบ้านโดยทั่วไป พบว่า หากน้ำท่วมเลยกว่า 50 ซม. แม้รั้วบ้านเสริมความแข็งแรงและปิดรูทางเข้าน้ำเรียบร้อยแล้ว แต่น้ำก็ยังผุดขึ้นมาที่สนามหญ้าได้ บ้างก็ค่อยๆซึมขึ้นมา บ้างก็ผุดขึ้นเป็นตาน้ำ เพราะการบดอัดดินของสนามหญ้าของบ้านปกติทั่วไปจะไม่อัดแน่นมากๆ และไม่ได้ก่อสร้างเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กเหมือนสถานที่อื่นๆ พลังน้ำที่มีมากมายจึงสามารถดันลอดผ่านขึ้นทางสนามหญ้าของบ้านทั่วไปได้ไม่ยากนัก ไม่จำเป็นต้องป้องกันโดยการเปลี่ยนสนามหญ้าเป็นพื้นคอนกรีต เพราะจะทำให้บ้านไม่น่าอยู่อย่างยิ่ง และจะร้อนมากในหน้าร้อนหรือวันที่มีแดดจัด แต่อาจจะบรรเทาความเสียหายโดยมีปั๊มน้ำคอยปั๊มน้ำที่ท่วมขังในสนามหญ้าให้ลดระดับลงและมีการเคลื่อนไหวบ้าง (เพื่อไม่น้ำเน่าเสีย และอาจช่วยชีวิตต้นไม้บางชนิดได้ทัน) และป้องกันขอบตัวอาคารบ้านเพื่อไม่ให้น้ำเข้าตัวบ้านได้ หากน้ำท่วมสูงเกินกว่า 50 ซม. น้ำจะมีแรงดันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเรือหรือรถขนาดใหญ่วิ่งอยู่ ละลอกคลื่นจะโถมเข้าหารั้วบ้าน จะทำให้รั้วบ้านพังลงมาได้ ดังนั้นต้องปล่อยให้น้ำเข้ามาท่วมในบริเวณบ้านบ้าง เพื่อให้เกิดการใช้  น้ำดันน้ำ  ความเสียหายทั้งหลายก็จะน้อยลง

            อีกสิ่งหนึ่งที่พบเมื่อน้ำท่วมและน้ำลดแล้วก็คือ ดินในบ้านที่มีการถมสูงกว่าบริเวณข้างเคียงจะมีการ ไหลออกไปนอกบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณใต้รั้วบ้าน ทำให้รั้วหลายแห่งเกิดอาการ รั้วเอียง  ซึ่งจำเป็นต้องรีบ ค้ำยัน บริเวณเสารั้วเอาไว้ และเมื่อน้ำแห้งและดินแข็งพอแล้ว ก็ทำการอัดดินกลับเข้าไปที่ใต้รั้ว และทำเป็น บ่าที่มักมีความลาดเอียงไม่มากนักยื่นออกมารอบรั้ว ก็จะทำให้รั้วไม่เกิดอาการวิบัติ

กรณีศึกษาที่ : ระบบก่อสร้างด้วยพื้นสำเร็จจะป้องกันน้ำผุดกลางบ้านได้น้อย

บ้านหลายหลังได้มีการป้องกันน้ำเข้าที่ กรอบอาคารเป็นอย่างดีแล้ว แต่เมื่อระดับน้ำนอกบ้านสูงขึ้นปรากฏว่ามีน้ำผุดขึ้นกลางบ้านผ่านพื้นคอนกรีต และหากไม่มีการเช็ดซับอยู่ตลอดเวลา หรือกวาดน้ำและตักออก (หรือปั๊มน้ำ) ก็จะทำให้น้ำท่วมเข้ามาในตัวบ้านจนเป็นระดับเดียวกันกับระดับน้ำนอกตัวบ้าน โดยทั่วไปจะพบว่าบ้านที่มีอายุน้อยกว่า ๒๐ ปี จะเกิดอาการเช่นนี้เกือบทั้งหมด เพราะบ้านส่วนใหญ่ที่มีอายุน้อยกว่า ๒๐ ปี จะใช้โครงสร้างระบบ พื้นสำเร็จซึ่งวางเป็นแผ่นไว้ที่บ่าคาน ทำให้มีช่องว่างเล็กๆที่น้ำจะเสียบเข้าตรงรอยต่อของแผ่นพื้นนั้น และพลังน้ำก็จะผ่านคอนกรีตทับหน้าของแผ่นพื้นสำเร็จ และผ่านวัสดุปูผิวพื้น และค่อยๆเอ่อขึ้น (หากน้ำแรงมาก ก็จะผุดขึ้นมาคล้ายน้ำพุ)

แนวทางในการแก้ไขทำได้ค่อนข้างยาก เช่นการวางแผ่นพลาสติกคลุมดินใต้บ้านเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้มวลน้ำจำนวนมากเข้ามากระทบกับผิวใต้พื้น หรือการลอกวัสดุผิวพื้นออกและสกัดผิวคอนกรีตทับหน้าออกบางส่วน แล้วเทคอนกรีตที่ทำระบบกันซึมที่ดีและมีความหนาพอสมควร (ห้ามเทคอนกรีตหนาเกินไป เพราะจะเป็นการเพิ่มน้ำหนักลงที่แผ่นพื้นสำเร็จ จะทำให้แผ่นพื้นรับน้ำหนักไม่ไหวและเกิดอาการแตกร้าว) หรือบางครั้งจะต้องปูแผ่นพลาสติกที่ผิวคอนกรีตก่อนที่จะปูวัสดุปูพื้นบางอย่างที่ไม่ใช้ปูนเป็นตัวยึดเกาะ เช่นพื้นไม้สำเร็จรูป เป็นต้น

 

กรณีศึกษาที่ : ประตูบานเลื่อนสร้างปัญหามากกว่าประตูบานเปิดตอนน้ำท่วม

ประตูบานเลื่อนที่เราใช้ในบ้านขณะน้ำท่วมจะมีอยู่ จุดใหญ่ๆคือ ประตูบานเลื่อนที่รั้วหน้าบริเวณบ้าน และประตูบานเลื่อนที่เข้าในตัวบ้าน ซึ่งพบว่าสร้างปัญหามากกว่าประตูบานเปิดปิดทั่วไป

ประตูบานเลื่อนที่รั้วบ้าน พบว่าเมื่อน้ำท่วมและมีเรือหรือรถขนาดใหญ่วิ่งผ่าน จะ พังเป็นจำนวนมาก (แม้จะมีระดับน้ำทั้งข้างในและข้างนอกอยู่ระดับเดียวกัน มีปรากฏการณ์ น้ำดันน้ำแล้วก็ตาม) เนื่องจาก คลื่น ที่เกิดจากเรือที่วิ่งและรถขนาดใหญ่จะวิ่งเข้ากระแทกประตู ประตูบานเลื่อนหน้าบ้านจะทนแรงกระทำด้านข้างได้น้อยกว่าประตูระบบเปิดปิดทั่วไป  แต่ในอนาคต หากบ้านต้องอยู่กับน้ำ ประตูบานเลื่อนหน้ารั้วบ้านอาจจะเป็นที่นิยมมากกว่าประตูบานเปิดปิด เพราะการเปิดปิดบานเลื่อนนั้นใช้แรงน้อยกว่าประตูบานเปิดที่ต้องเปิดผ่านมวลน้ำ (ใช้แรงเยอะมาก) แต่ประตูบานเลื่อนที่จะทำเช่นนั้น จะต้องมีการออกแบบที่มีความมั่นคงแข็งแรงมากขึ้น เพื่อรับแรงคลื่นที่วิ่งเข้ามากระแทก

ประตูบานเลื่อนที่ตัวบ้าน  พบปัญหาว่า การป้องกันน้ำเข้าทำได้ยากมาก เพราะมีรอยต่อยาวหลายจุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ตัววงกบมาชนหรือทาบกันจะเป็นร่องขนาดใหญ่ ต้องใช้ เทปหรือผ้ากาวติดประสาน แต่เมื่อแช่น้ำนานๆจะมีการหลุดหรือล่อน และแนวการติดเป็นระบบ มิติ ไม่เป็น มิติอย่างประตูบานเปิดปิด รวมถึงการใช้วัสดุประสานเช่นพวก ซิลิโคน ยาแนวก็จะลำบากมาก แม้จะไม่มีคลื่นมากระแทกตัวบาน แต่ก็มีจุดอ่อนมากมาย

 

กรณีศึกษาที่ : พบว่าข้าวของในบ้านเสียหายเพราะว่า ตู้พังมากที่สุด

เหตุเพราะน้ำท่วมปี ๒๕๕๔ ครั้งนี้ น้ำท่วม นานมาก ต่างจากการท่วมในอดีต ประกอบกับมีวัสดุทำเครื่องเรือนใหม่ๆเกิดขึ้นมากมาย (และหลายชนิดไม่สามารถจะอยู่ในน้ำได้เป็นเวลานานพอ) คนส่วนใหญ่ที่อยู่บ้านชั้นเดียวหรือไม่มีพื้นที่หรือแรงเพียงพอที่จะขนของไปที่อื่นหรือขึ้นบ้านชั้นที่สอง ก็จะวางของ (สมุด หนังสือ เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ) ไว้บนชั้น หรือหิ้ง หรือตู้ชั้นล่างที่น้ำท่วมถึง ปรากฏว่าเมื่อน้ำท่วมขังนาน ทำให้ตู้หรือชั้นที่วางของเกิดการ เปื่อยยุ่ยและพังลงมา ทำให้เกิดความเสียหายมากขึ้น  แนวทางการเตรียมการแก้ไขในอนาคตก็คือการต้องพยายามขนของไปไว้ในที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง และจะต้องมีการ ห่อเหล่าตู้และชั้นด้วยพลาสติกอย่างแน่นหนา เพื่อให้ความชื้นของน้ำเข้าไม่ถึงตัววัสดุที่ทำตู้หรือหิ้งเหล่านั้น

ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่พบก็คือ บานกระจกของเครื่องใช้ทั้งหลาย แม้จะมีการปิดกันน้ำไว้อย่างดีแล้ว ก็ยังแตกออกเกือบหมดเมื่อระดับน้ำสูงขึ้น เพราะความเปราะบางของกระจกไม่สามารถรับแรงน้ำที่ท่วมสูงอยู่เพียงด้านเดียวได้  บานกระจกที่แตกนี้มิได้เกิดขึ้นเพียงตู้เครื่องเรือนที่มีบานกระจกเท่านั้น แต่รวมถึงประตูบ้านด้วย เพราะบ้านหลายหลังมีการกันน้ำไม่ให้เข้าตัวบ้านเป็นอย่างดี แต่เมื่อระดับน้ำภายนอกตัวบ้านสูงขึ้น (แต่ภายในไม่มีน้ำ) น้ำหนักของน้ำภายนอกตัวบ้านก็จะดันจนกระจกของบานประตูแตกได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นภูมิปัญญาเรื่อง น้ำดันน้ำจึงต้องทำความเข้าใจให้ถ่องแท้

 

กรณีศึกษาที่ : พบว่ามี เชื้อราเกิดขึ้นในตู้เย็นที่ห่อหุ้มไว้อย่างดีแล้ว

มีภาพข่าวปรากฏให้เห็นและมีการเผยแพร่ในสื่อสาธารณะหลายแห่ง เป็นภาพของรถยนต์คันหนึ่งที่ถูกน้ำท่วม แม้จะปิดรถไว้อย่างดี แต่เมื่อน้ำแห้งและเปิดประตูรถเข้าไป ปรากฏว่าภายในมีเชื้อราเกิดขึ้นอย่างมากมาย ไม่สามารถจะทำความสะอาดให้หมดสิ้นได้ เพราะหากทำลายเชื้อราไม่หมดแล้วนำรถไปใช้ เชื้อราก็จะเข้าสู่ระบบหายใจ จนในที่สุดเจ้าของรถต้องตัดสินใจ รื้อ รถยนต์ทั้งคันและจึงประกอบเข้าใหม่

แต่สำหรับกรณีของตู้เย็นที่เจ้าของบ้านได้นำของออกหมดแล้ว ทำความสะอาดพอสมควร แล้วก็ชักปลั๊กไฟออก แล้วทำการหุ้มตู้เย็นด้วยพลาสติกอย่างดี และยกตู้เย็นขึ้นที่สูงไม่ให้น้ำท่วม แต่ครั้นเมื่อน้ำลดลง เอาตู้เย็นที่ห่อหุ้มไว้อย่างดีมาเปิดออก ก็ปรากฏมี เชื้อราขึ้นเต็มตู้เย็นไปทั้งหมด จึงเป็นที่สงสัยว่าเชื้อราดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะน้ำก็ไม่ท่วม อีกทั้งยังห่อหุ้มตู้เย็นเอาไว้อย่างดีแล้ว

คำตอบที่น่าสนใจจากนักวิทยาศาสตร์ก็คือ เจ้าของตู้เย็นไม่ได้ชักปลั๊กไฟออกจากตู้เย็นในขณะที่เอาของออกจากตู้เย็น เมื่อเอาอาหารออกจากตู้เย็นทั้งหมด ก็ทำการชักปลั๊กออก แล้วก็ทำการหุ้มด้วยพลาสติกอย่างดีไม่มีทางให้น้ำเข้า และน้ำก็ไม่ได้เข้าไป แต่เจ้าของลืมไปว่า การชักปลั๊กออกภายหลังและปิดหุ้มตู้เย็นอยู่นั้น ภายในตู้เย็นยังมีความชื้นและมีความเย็นอยู่  แม้จะทำความสะอาดดีพอสมควรแล้ว แต่ขณะที่ตู้เย็นยังเย็นอยู่และค่อยๆอุ่นขึ้นเป็นอุณหภูมิปกติ เชื้อราจะสามารถเจริญเติบโตได้อย่างดี มีความชื้นเพียงพอ และมีอุณหภูมิเหมะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อรา  เหตุการณ์เหล่านี้จึงเกิดขึ้น

กรณีศึกษาที่ : ความทนทานของต้นไม้ในบ้านกับน้ำท่วม

กรณีศึกษานี้ขอกำหนดเพียงต้นไม้ที่นิยมปลูกกันในบ้านพักอาศัยในเมืองและขอบเมือง มิได้รวมถึงต้นไม้ในวนอุทยานหรือตามเรือกสวนไร่นา พบว่าต้นไม้หลายอย่างมีความสามารถในการทนน้ำท่วมได้ดี และต้นไม้หลายอย่างทนน้ำท่วมไม่ได้เลย อาทิเช่น

ขนุน : ทนน้ำท่วมได้ไม่เกิน เดือน จะเสียชีวิตทั้งหมด

มะยม : ทนน้ำได้ดีมาก แม้ใบจะเหี่ยวแห้งไปบ้าง แต่ต้นก็ยังคงอยู่ได้ไม่มีปัญหา

มะม่วง : แล้วแต่พันธุ์ของเขา บางอย่างทนน้ำได้ดี บางอย่างทนน้ำไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะม่วงตอน

ไม้พุ่ม : เกือบทุกอย่างเมื่อโดนน้ำท่วมจะมิดใบทั้งหมด เสียชีวิตทั้งหมดหลัง เดือน

ประดู่ : ไม่ว่าจะเป็นประดู่แดงหรือประดู่กิ่งอ่อน ทนน้ำได้ดี ไม่ค่อยมีการจากไป

ปาล์ม : แม้ดูเหมือนเป็นต้นไม้ทะเลทราย แต่มีความสามารถในการทนน้ำได้ดี รอดเกือบทั้งหมด

หญ้าสวยๆ : เช่นหญ้านวลน้อย หญ้ามาเลเซีย เมื่อถูกน้ำท่วมจะหายหมด แต่พอจะฟื้นมาได้บ้าง

หญ้าพื้นบ้าน : เช่นหญ้าคา หญ้าแฝก ที่ขึ้นรกๆตามที่รกร้าง น้ำท่วมอย่างไรก็รอดเกือบหมด

กล้วย : มีความน่าสนใจมาก หากเป็นกล้วยเพิ่งแยกหน่อปลูกจะตายอย่างรวดเร็ว หากเป็นกอกล้วยที่ปลูกร่วมกันจนมีหน่อเป็นกอใหญ่ จะรอดทั้งหมด ทนน้ำท่วมได้เป็นเวลานานมาก

บัว : เป็นพืชน้ำที่น่าสนใจ เพราะน้ำท่วมครั้งนี้ บริเวณที่มีการท่วมเร็วและสูงและนาน บัวที่เป็นพืชน้ำจะตายเกือบทั้งหมด เนื่องจากสายบัวยืดตัวไม่ทัน ใบบัวจมน้ำนาน จึงไม่สามารถมีชีวิตรอดได้

ไม้ลำมีหนาม : เช่นระกำ  กุหลาบเมาะลำเลิง จะเหี่ยวเฉาหลัง เดือน แต่จะกลับฟื้นขึ้นมาเกือบทั้งหมด

มะขาม : ทั้งมะขามธรรมดาและมะขามเทศ ทนน้ำได้ดี ไม่ค่อยมีเสียชีวิต

มะกรูด มะนาว มะพร้าว ส้มโอ : ทนน้ำท่วมได้ดีพอควร แต่ส้มโอต้องมีการฟื้นฟูหลังน้ำท่วมพักใหญ่

เรื่องข้อมูลของ ต้นไม้ในบ้าน กับ น้ำท่วม น่าจะต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่ม เพื่อเป็นทางเลือกของผู้ปลูกรักต้นไม้ (แต่ต้องโดนน้ำท่วมบ้านนานๆ)  มิเช่นนั้นเมืองจะกลายเป็นป่าคอนกรีต

กรณีศึกษาที่ : งูเงี้ยวเขี้ยวขอและปลวก เขาหายไปไหนหนอ

มีข้อมูลที่น่าสนใจว่า เหล่าสัตว์เลื้อยคลานหลายอย่างไม่สามารถอยู่ในน้ำได้ตลอดเวลา เขาจำเป็นต้องหาที่อยู่ชั่วคราว ซึ่งพอสรุปข้อมูลเบื้องต้นได้ว่า

ที่อยู่ที่ คือในบ้านของเรา : เพราะสัตว์เหล่านี้แม้เป็นสัตว์เลือดเย็น แต่ก็ต้องการความอบอุ่น พบมากตามบริเวณซอกหลืบของบ้าน เช่นใต้บันได หลังตู้เก็บของ เป็นต้น และมีจำนวนไม่น้อยที่ขึ้นไปอยู่ที่ฝ้าเพดาน  ทางที่เขาเข้าหลัก (หลังจากที่เราปิดประตูหน้าต่างของบ้านอย่างดีแล้ว) มีอยู่ ทางคือ ทางท่อระบายน้ำ (โดยการเลื้อยทวนท่อระบายน้ำขึ้นมา) และทางชายคาบ้าน (ที่ปิดฝ้าเพดานไว้ไม่เรียบร้อย) ซึ่งพบว่างูที่หนีน้ำมาหาที่แห้งที่มีความอบอุ่นในบ้านจะเป็น งูพิษจำนวนไม่น้อยเลย

ที่อยู่ที่ คือบนต้นไม้ :  งูที่เลื้อยหนีน้ำท่วมขึ้นต้นไม้ส่วนใหญ่จะเป็น งูเขียว และ งูเขียวหางไหม้  ส่วนสัตว์เลื้อคลานประเภทอื่นจะอยู่บนต้นไม้ได้ไม่นาน

ที่อยู่ที่ คือ กระสอบทราย” : หมายถึงแนวกระสอบทรายที่กันน้ำท่วมและมีบางส่วนที่โผล่พ้นน้ำขึ้นมา เป็นจุดที่เหล่างูเงี้ยวเขี้ยวขอชอบไปอยู่กันมากที่สุด และมีประชาชนหลายท่านโดนทำร้ายไปแล้ว สัตว์เหล่านี้จะฝังตัวหนีน้ำอยู่ในหรือระหว่างช่องกระสอบทราย อาจจะเป็นเพราะยามน้ำท่วม สัตว์เหล่านี้เคลื่อนไหวล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่รู้จะไปขึ้นฝั่งที่ไหน เมื่อเจอเข้ากับแผงกระสอบทราย จึงฝังตัวอาศัยอยู่ที่นั้น แล้วก็จะมีอาหารต่างๆลอยเข้ามาให้บริโภคอยู่เสมอก็เป็นได้

มีคำถามน่าสนใจคำถามหนึ่งก็คือ ปลวกหายไปไหน  ซึ่งคำตอบก็คือ ปลวกที่อยู่ในดินเขาจะเสียชีวิตหมดเพราะอยู่ในน้ำนานขนาดนั้นไม่ได้ แต่ปลวกจะเข้าที่บ้านเรา (เข้าตามรูเล็กๆหรือไต่ตามผนัง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สูงๆเช่นโครงเคร่าฝ้าเพดานและหลังคา หรืออาจจะตามเครื่องเรือนที่ทำด้วยไม้  และจะขึ้นต้นไม้สูงประมาณ - เมตร จากระดับน้ำท่วม (จะเห็นเป็นคราบคล้ายๆขี้เถ้า)  แต่ไม่ต้องห่วงว่าปลวกจะหมดจากบ้านเรา เพราะไม่นานเขาก็มาจากที่อื่นอีกแน่นอน เพราะปลวกเป็นสัตว์ทนทานจนมีคำว่า ปลวกเกิดก่อนมีมนุษย์ในโลกใบนี้ และเมื่อมนุษย์หมดโลกไปแล้ว ปลวกก็ยังคงอยู่ 

กรณีศึกษาที่ ๑๐ : รอยร้าวหลังน้ำท่วม

ไม่มีบ้านปูนหลังใดในประเทศไทยที่ไม่มี รอยร้าว  เพราะรอยร้าวเป็นสิ่งคู่กับบ้าน รอยร้าวบางอย่างจะมีอันตราย และรอยร้าวบางประเภทจะไม่มีอันตราย ซึ่งหลังจากน้ำท่วมครั้งนี้ มีความน่าสนใจว่ามีรอยร้าวเกิดขึ้นตามอาคารบ้านเรือนมากมาย เป็นรอยร้าวที่เกิดขึ้นใหม่บ้าง เป็นรอยร้าวเก่าที่มีการขยายตัวร้าวมากขึ้นบ้าง  แต่ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นจะเป็นรอยร้าวเพียง ประเภทคือ

รอยร้าวชนิดแรก คือ ร้าวที่มุมประตูหน้าต่างไม้ โดยปกติแล้วรอยร้าวเช่นนี้ไม่ค่อยเกิดขึ้นสำหรับอาคารที่มีอายุน้อยกว่า ๒๐ ปี เพราะปัญหาเกิดจากการไม่ได้ทำ เสาเอ็น ทับหลังรัดกรอบวงกบเอาไว้ เมื่อไม้และอิฐและปูน มีการขยายตัวที่แตกต่างกัน ก็จะเกิดรอยร้าวเช่นนี้ แต่ภายหลังวิธีกรรมในการก่อสร้างดีขึ้น ผู้ก่อสร้างระยะหลังจึงทำเสาเอ็นทับหลังถูกต้องตามกรรมวิธีการก่อสร้าง จึงไม่ค่อยพบเห็นรอยร้าวเช่นนี้อีก แต่กรณีน้ำท่วมเป็นระยะเวลานานมากๆ ทำให้วงกบและบานกรอบไม้มีความชื้นมาก ความชื้นจะค่อยๆวิ่งจากด้านล่างที่มีน้ำท่วมอยู่ขึ้นสู่ด้านบน ไม้มีการขยายตัวมาก กอรปกับผนังก่ออิฐฉาบปูนมีความยุ่ยตัวลงเนื่องจากการแช่น้ำนาน มีการ ดันกันมากขึ้น จนในที่สุดผิวของปูนฉาบทนไม่ไหว ก็เกิดรอยร้าวเฉียงๆ ขึ้นที่บริเวณมุมของวงกบประตูหน้าต่าง การแก้ไขให้อ่านในร้าวชนิดต่อไป

รอยร้าวชนิดที่สอง : “ร้าวแตกลายงาเหมือนชามสังคโลก   เป็นรอยร้าวที่พบเจอมากที่สุดในบ้านทั่วไป ซึ่งเหตุที่เกิดก็เพราะกรรมวิธีการก่อสร้างผิดขั้นตอน หรือส่วนผสมของปูนฉาบนั้นมีปัญหา แต่รอยร้าวชนิดนี้เกิดขึ้นมาก และขยายตัวออกไปกว้างขึ้น หลังจากผนังของบ้านถูกน้ำท่วมเกินกว่า เดือน (ไม่ว่าจะเป็นผนังก่ออิฐบางขนาดครึ่งแผ่น หรือผนังก่ออิฐหนาขนาดเต็มแผ่น) ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสิ่งที่พบจริงและข้อมูลทางวิชาการแล้วพบสาเหตุว่าเกิดจาก น้ำจะเข้าไปตามรอยร้าวเล็กๆที่มีอยู่แล้ว ผ่านเข้าไปถึงก้อนอิฐซึ่งเป็นอิฐมอญ (อิฐเผา) ทำให้อิฐมีการขยายตัว จึงดันให้เกิดรอยร้าวมากขึ้นหรือใหญ่ขึ้น เมื่อรอยร้าวมากขึ้นหรือใหญ่ขึ้น ก็จะทำให้น้ำซึมได้มากขึ้น อิฐก็จะชุ่มน้ำและขยายตัวมากขึ้น ก็ดันให้เกิดรอยร้าวใหญ่ขึ้นและมากขึ้น และเกิดเช่นนี้ต่อเนื่องไป จนเกิดรอยร้าวชนิดนี้ขึ้นมากมายที่ผนังที่แช่น้ำนานๆ

แนวทางการแก้ไข ก็คือ ไม่ต้องทำอะไรในตอนแรก จำเป็นที่จะต้องทิ้งเอาไว้เช่นนั้นจนกว่า ความชื้นจะระเหยออกมาหมดจากก้อนอิฐและปูนฉาบ ซึ่งน่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า เดือน หลังจากนั้นรอยร้าวอาจจะเล็กลง หากผิวปูนฉาบไม่หลุดล่อน ก็ทาสีทับลงไป ผนังก็จะกลับมาสวยเหมือนเดิม ห้ามทาสีหรือฉาบปูนในขณะที่ยังมีความชื้นอยู่ในก้อนอิฐและปูนฉาบเป็นอันขาด มิเช่นนั้นจะทำให้สีลอกล่อนออกมาได้ เนื่องจากความชื้นที่ยังฝังตัวอยู่ภายในผนัง จะพยายามดันออกมาข้างนอก และต่อสู้กับสีที่ทาทับลงไป จนในที่สุดสีก็จะเป็นขุย เป็นกระดำกระด่าง หรือล่อนออกมา

รอยร้าวชนิดที่สาม รอยร้าวเฉียงๆที่ผนัง รอยร้าวชนิดนี้เกิดขึ้นก็เพราะโครงสร้างของอาคารเกิดการ  ทรุดตัวที่แตกต่างกัน มักเกิดขึ้นที่รั้วบ้าน หรืออาคารที่มีการต่อเติม เมื่อเกิดน้ำท่วม ทำให้โครงสร้างใต้ดินมีความแข็งแรงไม่เพียงพอ มีความแข็งแรงที่แตกต่างกันระหว่างเสาหนึ่งกับอีกเสาหนึ่ง จึงเกิดรอยร้าวเช่นนี้ขึ้น 

แนวทางการแก้ไข รอยร้าวชนิดนี้ต้องคอยติดตามว่ารอยร้าวจะยาวขึ้นหรือกว้างขึ้นหรือไม่ หากยาวขึ้นหรือกว้างขึ้นก็แสดงว่าอาการทรุดตัวของอาคารยังไม่หยุด ต้องให้ช่างผู้รู้เช่นวิศวกรหรือสถาปนิกมาตรวจสอบ และหาวิธีแก้ไข แต่หากรอยร้าวเช่นนี้หยุดร้าวและไม่โตขึ้น และพื้นอาคารยังไม่เอียง ก็ยังไม่ต้องทำอะไรสักพักหนึ่งได้ แต่ต้องเฝ้าดูอยู่ตลอดเวลา

รอยร้าวชนิดที่สี่ ร้าวข้างๆผนังติดกับเสารอยร้าวชนิดนี้มักเกิดขึ้นเพราะความผิดพลาดทางวิธีกรรมการก่อสร้าง ที่ผู้ก่อสร้างไม่ได้เสริมเหล็กบริเวณรอยต่อของเสาและผนัง (เหล็กหนวดกุ้ง)  แต่สำหรับกรณีเกิดภัยน้ำท่วมครั้งนี้ รอยร้าวที่เกิดขึ้นเพราะมีน้ำขังสูงอยู่ ด้านใดด้านหนึ่งของผนัง และพลังน้ำได้ดันมาที่ผนังกับเสา ส่วนที่เป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็กสามารถรับกำลังของน้ำได้ แต่ผนังไม่แข็งแรงพอที่จะรับกำลังน้ำ ผนังจึงมีการขยับตัวออก (ในขณะที่เสาไม่มีการขยับตัว) รอยร้าวเช่นนี้จึงเกิดขึ้น

แนวทางการแก้ไข ต้องมีการตรวจสอบความแข็งแรงของผนังว่ายังได้ ดิ่ง-ฉากหรือไม่ และมีการขยับตัวหรือไม่หากยังมีระดับดิ่งที่ดีและไม่มีการขยับตัวเมื่อมีแรงกระทำ ก็ไม่ต้องทำอะไร รอจนกว่าความชื้นจะหมดไป แล้วอุดรอยด้วยซิลิโคน (หรือโพลี่ยูริเทน)  แต่หากระยะดิ่งล้มมาก และ ผนังมีการขยับตัว จะต้องมีการแก้ไขโดยช่าง หรืออาจจะต้องมีการทุบบางส่วนและเสริมความแข็งแรงเข้าไป

        บทตาม   นอกจากประเด็นกรณีศึกษาในเชิงช่างแล้ว อุทกภัยคราวนี้ (๒๕๕๔) มีสิ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้นหลายประเด็น เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นทางสังคม  เช่น

       สื่อสังคมทางอินเตอร์เนต (Social Media) มีพลังมากขึ้น การติดต่อสื่อสาร การแจ้งข่าว การวิเคราะห์ การขอความช่วยเหลือ การออกความคิดเห็น ฯลฯ ใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นหลัก โดยเฉพาะในสภาวะวิกฤติที่ต้องทำงานแข่งกับเวลาเช่น การระดมพลเพื่อช่วยเหลือเร่งด่วน  ทำให้สื่อกระแสหลักทั่วไปอย่างเช่นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ทำหน้าที่เพียงการรับรองผลและสรุปภาพรวม

  ประชาชนให้ความเชื่อถือนักวิชาการอิสระมากกว่าราชการ หมายถึงการแจ้งข้อมูลและการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ  ทำให้หลายครั้งประชาชนเกิดความสับสนและแตกแยกทางความคิด แตกแยกทางแนวทางปฏิบัติ ทำให้การแก้ปัญหาความเดือดร้อนทำได้ช้าและขาดประสิทธิภาพ

     เกิดศัพท์ใหม่ๆเฉพาะกิจขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งศัพท์ที่ออกทางขำขัน และใช้ในการล้อเลียนเช่น คำว่า  เอาอยู่  หรือ น้ำแตกหรือการล้อเลียนคำภาษาเกาหลีเช่น  จมยังแก มึงจมยัง ยังแกล่ะ ลุ้นจังกู กูยังจม ลอยยังมี ปูยังมึน ลอยยังมี ตกจังมึง  ปล่อยมาจัง  จมแล้วกู กูยังมึน งงจังกู แกจมจิง  กูมีโฮ  เซลงฟุบ เป็นต้น 

    ข้าวของขึ้นราคาเป็นปกติยกเว้นแต่ห้างร้านขนาดใหญ่  ซึ่งจะเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เมื่อเกิดความเดือดร้อน จะต้องมีผู้ค้าขายที่เห็นแก่ตัวขึ้นราคาสินค้า ทั้งก่อนและหลังอุทกภัย  แต่พบว่าร้านค้าที่ขึ้นราคานั้นจะเป็นร้านค้าขนาดกลางและขนาดเล็ก ส่วนร้านค้าขนาดใหญ่จะรักษาราคาเดิมเอาไว้ ตั้งแต่อุปกรณ์ป้องกันน้ำท่วม จนถึงวัสดุซ่อมบ้านหลังน้ำท่วม

เครือข่าย จิตอาสามีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ  เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจมาก เพราะเกิดอาสาสมัครขึ้นอย่างมากมายที่ต้องการทำดี หรือต้องการทำอะไรสักอย่างเพื่อช่วยเหลือผู้เดือดร้อน และส่วนใหญ่เป็นองค์กรใหม่ที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ หรือกลุ่มคนที่รวมตัวกันอย่างหลวมๆในกิจกรรมสาธารณะ  สังเกตได้ว่า องค์กรขนาดใหญ่จะเคลื่อนตัวช่วยเหลือเหตุการณ์นี้ค่อนข้างช้า (ยกเว้นสภากาชาดไทย และ กลุ่มบริษัท SCG) และหลายองค์กรขนาดใหญ่ไม่ได้ ลงมือช่วยเหลือจริงๆจังๆ หนักทางการออกข่าวมากกว่า  น่าสังเกตได้ว่า มี คนรุ่นใหม่ ที่ไม่ได้ออกมา เดินขบวนในความขัดแย้งของการเมือง บ้างเพราะเกรงอันตราย บ้างเกิดความเบื่อหน่ายสภาวะความแตกแยกของสังคม หรือแม้แต่เพราะการขาดความเข้าใจถ่องแท้ในปัญหาความขัดแย้ง คนรุ่นใหม่เหล่านี้สามารถประสานกับผู้ที่อาวุโสกว่าได้เป็นอย่างดี ครอบครัวสนับสนุนให้ออกมาช่วย ทำงานโดยไม่ต้องการชื่อเสียง ไม่ต้องการปรากฏตัวตน ไม่เรียกร้อง อาสามาช่วยเหลือแล้วก็จากไปเงียบๆ  คนรุ่นใหม่เหล่านี้ส่วนใหญ่ทราบข่าวจาก Social Media                                 

บทสรุป   :  กรณีศึกษา ๑๐ ประการ  นอกบันทึกช่าง จากเหตุการณ์น้ำท่วมบ้านเรือนปี ๒๕๕๔

เมื่อปลายปี ๒๕๕๔ เกิดอุทกภัยบริเวณภาคเหนือและภาคกลางบางจังหวัดของประเทศไทย และมีการ ท่วมขังด้วยเวลาเนิ่นนานบริเวณกรุงเทพและเขตปริมณฑล ทำให้บ้านเรือนเกิดความเสียหาย ซึ่งมีหนังสือเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วม การอยู่กับน้ำท่วม และการซ่อมแซมบ้านหลังน้ำท่วม ออกมาให้ความรู้อยู่หลายเล่ม บางฉบับมีจำนวนพิมพ์เกินกว่า ,๐๐๐,๐๐๐ เล่ม  เพราะประชาชนมีความเดือดร้อนมากมาย

แต่มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจบางประการที่ไม่มีบันทึกไว้ในเอกสารเชิงช่าง ถึงผลและเหตุและวิธีการแก้ไข ในสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่การป้องกันก่อนน้ำท่วมบ้านจนถึงหลังจากน้ำท่วมบ้านและน้ำลดแล้ว ซึ่งบันทึกนี้เป็นการรวมกรณีศึกษาที่น่าสนใจบางประการในเชิงช่าง(ก่อสร้าง)เอาไว้ นอกเหนือจากหนังสือและบทความต่างๆที่ได้ออกมาในก่อนปี ๒๕๕๔ (และก่อนหน้านั้น)  โดยหวังว่ากรณีศึกษาที่บันทึกนี้จะเป็นประโยชน์ในอนาคตของผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน  อย่างแน่นอน  อย่างแน่นอน

โดย....ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์  ธันวาคม ๒๕๕๔  
อีเมล์ส่งต่อจาก...อาจารย์ศิวาพร ศิวเวชช (2090)