วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

หนึ่งคนหนึ่งเสียง ไม่ใช่ความเท่าเทียมกันทุกเรื่องในสหกรณ์


คิดเล่น ให้เห็นความจริง
หนึ่งคนหนึ่งเสียง ไม่ใช่ความเท่าเทียมกันทุกเรื่องในสหกรณ์
 
โดย  ครูรงค์

 
                เป็นที่ทราบกันดีว่า ลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้สหกรณ์มีความแตกต่างจากการประกอบธุรกิจในรูปแบบอื่นคือการบริหารงานตามหลักประชาธิปไตย ที่สมาชิกทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการออกเสียงลงคะแนนเพื่อกำหนดนโยบายและพิจารณาวินิจฉัยปัญหาต่าง โดยสมาชิกแต่ละคนจะมีสิทธิในการออกเสียงคนละหนึ่งเสียงเท่าเทียมกัน

การควบคุมการบริหารสหกรณ์ตามหลักประชาธิปไตยดังกล่าวนี้ เป็นหลักการสหกรณ์ข้อที่สองที่องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล (International Cooperative Alliance) กำหนดขึ้นเพื่อให้ขบวนการสหกรณ์ของประเทศต่าง ที่เป็นสมาชิกถือใช้ หลักการสหกรณ์ในข้อนี้ระบุว่า ในสหกรณ์ขั้นปฐมนั้น สมาชิกทุกคนมีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนเท่าเทียมกัน คือหนึ่งคนหนึ่งเสียง 

          ในประเทศไทยเราแต่เดิมนั้น ... สหกรณ์ .. 2471 กำหนดให้ใช้หลักการหนึ่งคนหนึ่งเสียงนี้ในกิจการของสหกรณ์โดยมิได้ระบุจำเพาะเจาะจงว่าในกรณีใดบ้าง แต่นับตั้งแต่ปี .. 2511 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน หลักการหนึ่งคนหนึ่งเสียงนี้ ถูกกำหนดเอาไว้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องของการออกเสียงในการประชุม 

           สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงไว้เสมอก็คือ หลักการหนึ่งคนหนึ่งเสียงนี้ เป็นหลักการที่ได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดความเสมอภาคในหมู่สมาชิกเฉพาะในกรณีของการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมเท่านั้น หาได้รวมไปถึงความเสมอภาคเท่าเทียมกันของสมาชิกในสิทธิอื่น ในสหกรณ์ทุกเรื่องไม่ เช่น สมาชิกสหกรณ์บางคนอาจจะถูกจำกัดสิทธิโดยกฎหมายหรือข้อบังคับห้ามเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการในสหกรณ์ หรือสมาชิกที่มีอายุการเป็นสมาชิกต่ำกว่าหกเดือนอาจถูกจำกัดสิทธิในการสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นกรรมการของสหกรณ์ หรือสมาชิกบางคนที่ส่งชำระค่าหุ้นรายเดือนสะสมจนครบจำนวนที่กำหนดแล้วอาจได้รับสิทธิในการหยุดส่งชำระค่าหุ้นรายเดือนได้ ฯลฯ เป็นต้น

โดยทั่วไปแล้ว สมาชิกสหกรณ์มักไม่ค่อยให้ความสนใจมากนักในการศึกษาและทำความเข้าใจแก่กฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสาเหตุหลายประการ เช่นไม่มีเวลา  ไม่น่าสนใจ หรือเห็นว่ามีกรรมการหรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์ที่พร้อมจะชี้แจงในเรื่องต่าง ให้อยู่แล้ว เรื่องราวประเภทเขาเล่าว่า หรือเขาบอกว่าจึงเกิดขึ้นเสมอ ในสหกรณ์

ไม่เพียงแต่เฉพาะสมาชิกสหกรณ์เท่านั้น ยังมีคนอีกเป็นจำนวนมากที่เข้าใจกันว่าเมื่อสกรณ์มีการดำเนินงานตามหลักประชาธิปไตย โดยมีหลักการกำหนดให้สมาชิกทุกคนสามารถออกเสียงลงคะแนนได้คนละหนึ่งเสียงเท่ากันแล้ว สมาชิกสหกรณ์ทุกคนย่อมต้องมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในทุก เรื่องในกิจการของสหกรณ์ด้วย ดังนั้นสหกรณ์เป็นวิสาหกิจรูปแบบเดียวที่สมาชิกทุกคนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในทุก ด้าน

มีกลอนสั้น ที่มีผู้ (ซึ่งน่าจะเป็นสมาชิกสหกรณ์) เขียนด้วยปากกาแมจิคติดข้างฝาในห้องน้ำของสหกรณ์แห่งหนึ่ง อ่านแล้วสามารถสร้างจินตนาการได้หลายอย่าง คำกลอนนั้นว่าอย่างนี้

สหกรณ์แห่งนี้ก็ของฉัน มีหุ้นอยู่ตั้งสองพันตรวจสอบได้ แถมเงินฝากอีกสามร้อยน้อยเมื่อไร แล้วทำไมฉันไม่ได้เป็นกรรมการ

อ่านแล้ว  เราจะตอบคำถามของผู้เขียนกลอนบทนี้ว่ายังไงดี ช่วยกันคิดหน่อยซี จะเลยตามเลย  หรือว่าเราจะต้องเริ่มต้นให้การศึกษาหลักสหกรณ์แก่สมาชิกกันใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น