วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

คิดเล่น ๆ ให้เห็นความจริง ...เรื่องหุ้นๆ ในสหกรณ์


คิดเล่น ให้เห็นความจริง
เรื่องหุ้นๆ ในสหกรณ์
โดย  ครูรงค์

   อ่านถูกแล้วละครับ เรื่องหุ้น ในสหกรณ์ ไม่ใช่เรื่องวุ่น ในสหกรณ์ แต่เรื่องหุ้น นี้ก็อาจกลายเป็นเรื่องวุ่น ขึ้นมาได้เหมือนกัน 

ใครที่เคยอ่านกฎหมายสหกรณ์และข้อบังคับของสหกรณ์ แล้วคิดตามไปด้วยขณะอ่าน  อาจเคยพบว่า บางเรื่องราวที่กำหนดเอาไว้ในกฎหมายสหกรณ์และในข้อบังคับของสหกรณ์นั้น น่าสนใจและน่าสงสัย ว่าทำไมกฎหมายและข้อบังคับจึงกำหนดไว้เช่นนั้น และในทางปฏิบัติจะทำอย่างไร อย่างเช่นเรื่องของหุ้น และ สมาชิกในสหกรณ์

ลองมาดูกัน เริ่มที่ ...สหกรณ์ .. 2542  มาตรา 33 (2) และ (3) ที่ระบุว่า สหกรณ์จะจัดตั้งขึ้นได้โดยการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิกโดยวิธีช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันตามหลักการสหกรณ์ และต้อง

 (2)      มีสมาชิกเป็นบุคคลธรรมดาและบรรลุนิติภาวะ

(3)       มีทุนซึ่งแบ่งเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่า กัน และสมาชิกแต่ละคนจะต้องถือหุ้นอย่างน้อยหนึ่งหุ้น แต่ไม่เกินหนึ่งในห้าของหุ้นที่ชำระแล้วทั้งหมด

และ มาตรา 62 (5) ที่ระบุว่า เงินของสหกรณ์นั้น สหกรณ์อาจฝากหรือลงทุนได้ ดังต่อไปนี้

 (5)      ซื้อหุ้นของชุมนุมสหกรณ์หรือสหกรณ์อื่น

ชาวสหกรณ์ทั้งหลายต่างก็รู้กันดีว่า ... สหกรณ์ .. 2542 ทั้งสองมาตราดังกล่าวข้างต้น ได้ถูกแปลความให้กลายมาเป็นบางส่วนในข้อบังคับของสหกรณ์โดยทั่วไปที่ผ่านความเห็นชอบจากนายทะเบียนสหกรณ์ให้ถือใช้ได้ ในปัจจุบัน ดังนี้

ในส่วนของสมาชิก สมาชิกของสหกรณ์ต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่บรรลุนิติภาวะแล้ว

ในส่วนของหุ้น สหกรณ์สามารถออกหุ้นได้จำนวนไม่จำกัด

ในส่วนของวัตถุประสงค์/อำนาจกระทำการ สหกรณ์สามารถซื้อหุ้นในสหกรณ์อื่นได้

ประเด็นที่น่าสนใจเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการซื้อหุ้นในสหกรณ์อื่นของสหกรณ์ ซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ทำได้ เพราะหุ้น นั้นเป็นสิ่งที่แสดงถึงส่วนแห่งความเป็นเจ้าของในสหกรณ์  และสมาชิกสหกรณ์ทุกคนต้องถือหุ้นในสหกรณ์ แต่ก็แน่นอนว่า สหกรณ์ที่ซื้อหุ้นจะไม่อาจได้สถานภาพการเป็นสมาชิกในสหกรณ์ที่ขายหุ้นโดยอัตโนมัติ  เนื่องจากกฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ว่าสมาชิกของสหกรณ์จะต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่บรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น

การเข้าซื้อหุ้นในสหกรณ์อื่น แม้จะมีผลทำให้สหกรณ์ที่ซื้อหุ้นกลายเป็นผู้ถือหุ้นที่มีส่วนเป็นเจ้าของสหกรณ์ที่ขายหุ้น ตามมูลค่าของหุ้นที่มีการซื้อขายกัน   สิ่งที่จะต้องคิดต่อไปก็คือสหกรณ์ที่ซื้อหุ้นไว้ในฐานะผู้ถือหุ้นจะมีสิทธิ บทบาทหรืออำนาจหน้าที่อย่างไรในสหกรณ์ที่ขายหุ้น เพราะเรื่องดังกล่าวนี้ไม่ได้มีการกำหนดเอาไว้ชัดเจนทั้งในกฎหมายสหกรณ์ และในข้อบังคับของสหกรณ์

ท่านผู้อ่านรู้ไหมว่าเรื่องอย่างนี้จะถามหาเอาความชัดเจนได้จากใคร หรือต้องส่งให้ใครตีความ

แต่ก็สนุกดีนะ ว่าไหม?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น