วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สหกรณ์บริการโรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ มก.


สหกรณ์บริการโรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ มก.

ศาสตราจารย์พิเศษ อาบ นคะจัด[1] (77)

          มีบทความของ ดร.รังสรรค์ ปิติปัญญา (6390) เรื่องสหกรณ์บริการ : เครื่องมือในการพัฒนาสมาชิก ของ สอ.มก.” ลงในข่าว สอ.มก. เมษายน 2556 ผมอ่านแล้ว ชอบใจ จึงขอต่อยอดให้จัดตั้งสหกรณ์บริการโรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ มก.” โดยดำเนินการจัดตั้งเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้

            (1)  สอ.มก. แต่งตั้งคณะทำงานขึ้นคณะหนึ่งประกอบด้วยตัวแทน สอ.มก. และ มก. จำนวน 7 คน (ไม่รวมที่ปรึกษา) ให้พิจารณาศึกษาความเป็นไปได้ ทั้งด้าน สอ.มก. ในการจัดตั้งสหกรณ์บริการโรงพยาบาลและด้าน มก. ในการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ทั้งนี้ให้เสร็จงานภายในปี .. 2556

             (2)  ด้านการจัดตั้งสหกรณ์บริการโรงพยาบาลให้ สอ.มก. เป็นผู้ชี้ชวนสหกรณ์ออมทรัพย์ (สอ.) 6 สหกรณ์ ซึ่งมีที่ตั้งหน่วยงานอยู่ไม่ไกล สอ.มก. คือ สอ.กรมป่าไม้  สอ.กรมวิชาการเกษตร  สอ.กรมพัฒนาที่ดิน  สอ.กรมส่งเสริมการเกษตร  สอ.กรมประมง  และ สอ.ธกส.  รวมกันถือหุ้นสหกรณ์บริการโรงพยาบาล โดย สอ. ทั้ง 7 และ โดยสมาชิกของ สอ.ทั้ง 7 ลงทุนจัดซื้อที่ดิน อาคารต่างๆ ที่โรงพยาบาลมีเตียงคนไข้..........เตียง (เช่น 600 เตียง) ฯลฯ มูลค่าประมาณ.......บาท (เช่น 5,000 ล้านบาท) แล้วมอบให้ มก. ใช้เป็นที่ตั้งคณะแพทยศาสตร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บริการโรงพยาบาลแก่คนไข้ประจำ คือมวลสมาชิกและคนในครอบครัวสมาชิกของ สอ.ทั้ง 7 สอ.

             (3)  ด้านการให้บริการโรงพยาบาลและแพทย์รวมทั้งพยาบาลและบุคลากร มก. จะต้องเตรียมการให้พร้อม และเสนอจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ และหน่วยงานอื่นที่จำเป็นแก่การให้บริการโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน

             (4)  สหกรณ์บริการโรงพยาบาล โดยคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์บริการจะร่วมกับ มก. (คณะแพทยศาสตร์) พิจารณาวางระเบียบการบริหารบุคคล การบริหารการเงิน และการบริหารอาคาร สถานที่และวัตถุอุปกรณ์เครื่องมือ มุ่งส่งเสริมบริการที่ดีและยั่งยืนแก่คนไข้ คือสมาชิกทั้งมวลและคนในครอบครัวที่ขึ้นทะเบียนไว้

             (5)  การคิดค่าตอบแทนการลงทุนอาคารและสถานที่ สหกรณ์และสมาชิกผู้ถือหุ้นต้องพิจารณาไม่ให้กระทบทำให้ค่าใช้จ่ายในการบริการโรงพยาบาลสูงกว่าค่าบริการของโรงพยาบาลระดับมาตรฐานอื่นๆ

             (6)  โครงการนี้ต้องถือเป็นงานหนึ่งในการเตรียมการที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับ มก. ที่จะเป็นมหาวิทยาลัยอยู่นอกกำกับของรัฐได้ดีตามที่ควร

             (7)        เมื่อปี .. 2538 (.. 1995) สหกรณ์โรงพยาบาลมีอยู่ใน 6 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น  อินเดีย  ศรีลังกา  มาเลเซีย  ฟิลิปปินส์  และพม่า (ประดิษฐ์ มัชฌิมา : ชีวิตการทำงานสหกรณ์ทั้งในและต่างประเทศ, หน้า 145 ; พิมพ์เป็นเล่มเผยแพร่โดยผู้เขียนเอง เมื่อ 23 เมษายน 2555)


[1] ข้าราชการบำนาญ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มก. , ที่ปรึกษา สอ.มก. , นายกสมาคมเศรษฐศาสตร์สหกรณ์แห่งประเทศไทย , นักสหกรณ์แห่งชาติสาขาวิชาการสหกรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น