วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ฟัง “คนกลาง (สอ.มก.)” แถลงบ้าง


ฟัง คนกลาง (สอ.มก.)” แถลงบ้าง

      เดิมทีแรกที่ให้มหาวิทยาลัยกู้ สหกรณ์น่าจะทำได้เพราะมหาวิทยาลัยยังเป็นสมาชิกสมทบอยู่ แต่เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งยกเลิก สอ.มก. ก็น่าจะหยุดให้กู้เพราะ “การขัดคำสั่งนายทะเบียนสหกรณ์นั้นมีผลร้ายแรงกับคณะกรรมการดำเนินการ”

          แต่ที่คณะกรรมการหลายๆ ปีมาแล้วกล้าทำเพราะ

      1)  คณะกรรมการเห็นว่าเงินกู้ต่างๆ นี้ล้วนแต่นำไปพัฒนามหาวิทยาลัยทั้งสิ้นเพราะถ้าไม่ได้เงินกู้จากสหกรณ์แล้วก็ยากที่จะพัฒนาให้มหาวิทยาลัยเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วได้ เพราะรัฐบาลมุ่งให้มหาวิทยาลัยช่วยเหลือตนเอง และไม่มีงบประมาณให้

      2)     สหกรณ์สามารถนำเงินไปลงทุนโดยได้กำไรจากส่วนเหลื่อมที่มั่นคงแน่นอน แม้จะไม่สูงมากนักแต่ก็มั่นคงปลอดภัย เพราะมหาวิทยาลัยมีเงินฝากค้ำประกันและเท่าที่เป็นมามหาวิทยาลัยจ่ายดอกเบี้ยและเงินต้นโดยไม่มีปัญหาใดๆ (ลูกหนี้ชั้นดีเลิศ)

      3)   ในระยะเริ่มต้นให้มหาวิทยาลัยกู้ก็เคยได้รับคำชมเชยและยกย่องเป็นแบบอย่างจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่าเป็นการใช้เงินทุนที่เป็นประโยชน์กับองค์กรแม่ (มก.)

     เมื่อเล็งเห็นว่าการ “ให้ มก.กู้” นั้นเกิดประโยชน์ทั้งมหาวิทยาลัยและสหกรณ์ออมทรัพย์ และไม่มีเหตุอันใดที่จะเกิดความเสียหายทางการเงินได้ (คือมีการเบี้ยวหนี้) คณะกรรมการหลายชุดที่ผ่านมาซึ่งต่างก็มีท่านอธิการบดีเป็นประธานคณะกรรมการสหกรณ์ จึงกล้าหาญในการที่จะอนุมัติให้มหาวิทยาลัยกู้เพื่อไปพัฒนามหาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วได้ โดยมิได้เกรงกลัวที่จะถูกนายทะเบียนถอดถอนจากการเป็นกรรมการดำเนินการและไม่อาจสมัครเข้ามาเป็นกรรมการได้อีกเลย

     แล้วใครล่ะเดือนร้อนเรื่องนี้ ทั้งที่ มก. ก็ได้ประโยชน์ สอ.มก. ก็ได้ประโยชน์ ก็คงจะต้องมาคิดวิเคราะห์กันว่าผู้เดือดร้อนเขาต้องการอะไรกันแน่ อะไรคือเป้าซึ่งยังจะต้องค้นหากันต่อไป...แต่แน่ล่ะเรื่องทำนองนี้มักจะเป็นข่าวที่น่าสนใจแน่นอน

      เมื่อการให้มหาวิทยาลัยกู้มีแต่ได้กับได้โดยสุจริตและมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆ แน่ทั้งในปัจจุบันและอนาคต คณะกรรมการ สอ.มก. ก็คงจะกล้าหาญในเรื่องนี้ต่อไป เว้นแต่มหาวิทยาลัยจะมิอาจกล้ากู้เพราะแม้จะมีประโยชน์ต่อ มก. ก็จริง แต่อาจจะมีผลเสียหายในทางราชการให้เกิดความมัวหมองได้

     สู้อยู่ไปวันๆ รอเกษียณแล้วค่อยคุยก็ได้ ว่าไม่เคยทำอะไรผิดเลย น่าจะดีกว่ามั้ง

“กรรมการเก่า-แก่”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น