วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คุณค่าของคน


คุณค่าของคน

โดย ชัชวาล พันธุ์มณี

     คนเราเกิดมา มีสิทธิเท่าเทียมกันของความเป็นคน แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ความเป็นคนแตกต่างกันหลังจากคนๆ นั้น สามารถพูด คิด กระทำ ประพฤติ ปฏิบัติ อยู่ในวงสังคม เพราะคนต้องอยู่ร่วมกันในสังคม พฤติกรรมจึงเป็นตัวจำแนกคุณค่าของคนให้แตกต่างกัน มีการยอมรับนับถือศักดิ์ศรีของคน สามัคคีธรรมในหมู่คณะจะไม่เกิดขึ้น ถ้าสังคมไม่มีระเบียบ กฎเกณฑ์ วินัยและดูถูกดูแคลนซึ่งกันและกัน บางท่านจึงจำแนกคุณค่าของคนไว้ดังนี้

1.คนกับงาน

                1.1ความสามารถในการทำงาน การงาน อาชีพ ก็เป็นตัวจำแนกคนให้แตกต่างกัน เพราะงานเป็นตัววัดความสามารถ ความชำนาญ ทักษะ และปฏิภาณไหวพริบแต่ละคนมีความสามารถมีทักษะไม่เท่าเทียมกัน จึงมีการสัมมนา ฝึกอบรม เพื่อให้ทุกคนที่ทำงานร่วมกันมีความสามารถใกล้เคียงกัน ทำงานร่วมกันได้

                1.2ความสามารถในการเข้ากับคน หรือที่เรียกว่าเข้าไหนเข้าได้ ทำงานร่วมกันกับคนอื่นๆ ได้ ฉะนั้นความสามารถในการเข้ากับคนได้ จึงมิใช่ปัญหาความสามารถในการทำงาน จากการศึกษาของหลายสถาบันพบว่า คนที่ถูกปลดออกจากงาน และการเลื่อนตำแหน่งมีสาเหตุมาจาก

                                ก.คนที่ถูกปลดออกจากงาน

                                                1.ขาดความสามารถเพียง ร้อยละ 10

                                                2.เพราะเข้ากับคน เพื่อนร่วมงานมิได้ร้อยละ 90

                                ข.คนที่มิได้เลื่อนตำแหน่ง

                                                1.เพราะไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถ ร้อยละ 25

                                                2.เพราะเข้ากับคนมิได้ร้อยละ 75

                                จึงเห็นได้ว่า คนจะสมหวังในชีวิตการทำงานอยู่ที่มีความสามารถในการเข้ากับคนได้ และทำตนให้ถูกใจผู้อื่นได้เป็นประการแรกที่สำคัญ แล้วใช้ความรู้ความสามารถเป็นแรงเสริม ผลักดัน พึงระลึกถึงคำกล่าวที่ว่า มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอดจำไว้เป็นข้อคิดให้ดี

                                ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ในการทำงานจะช่วยก่อให้เกิดการทำงานเป็นทีม เป็นหมู่ มีการประสานงาน (มิใช่ประสานงา) มีความสามัคคี มีความสงบสุข บรรยากาศในการทำงานดี สนุก งานก็ดีขึ้น มีผลงาน งานสำเร็จ ตามเป้าหมายที่วางไว้ และรวดเร็ว

2.             การปรับปรุง พัฒนาและพิจารณาตนเองเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น

                2.1          ความประพฤติ อย่าให้เสียเรื่องเงิน เพศ ปาก สุราและการพนัน

                2.2          นิสัย อย่าเอาแต่ใจตนเอง เหยียบคนอื่น เจ้ายศเจ้าอย่าง ปากเสีย ขัดผลประโยชน์คนอื่น เห็นแก่ตัว

                2.3          ลักษณะท่าทาง ไม่หัวดื้อหัวรั้น เฉื่อยชา ขี้ขลาด อารมณ์อ่อนไหว

                2.4          อารมณ์ มุ่งจะเอาแต่ผิดกับถูก ไม่คำนึงถึงวามรู้สึก เสแสร้ง การตัดสินใจดี มิใช่เกิดจากเวลา                    มีอารมณ์ แต่เกิดจากเวลาที่เรารู้จักอารมณ์และ   รู้จักแสดงออกที่เหมาะสม

                2.5          ข้อเสนอแนะนำในการใช้อารมณ์ ใช้สติ ปัญญา                เข้ามาควบคุมอารมณ์ อย่าเป็นทาสของอารมณ์ ฝึก                        อารมณ์ให้เป็นคนหนักแน่น นุ่มนวล แนบเนียน นอบน้อมและแน่นอน

                เมื่อเหตุการณ์ต่างๆ มากระทบอารมณ์ ปฏิกิริยาที่ตอบสนองควรเป็นไปในทางดี จงนึกถึงคำกล่าวที่ว่า เมื่อเรายิ้ม โลกทั้งโลกก็จะยิ้มกับเราทำอย่างไรเราจึงจะเป็นคนดีมีอารมณ์ดี ไม่เป็นคนเจ้าอารมณ์ โมโหฉุนเฉียว จึงควรฝึกด้วยความอดกลั้น ข่มใจ ถือหลักอโหสิ ให้อภัย จงฝึกอารมณ์ให้สงบนิ่งเหมือนชายหาด น้ำทะเล พายุ พัดกระหน่ำเข้าหาตลอดเวลาหาดก็เฉย แต่พอหมดคลื่นลม หาดก็สวยงาม ผู้พบเห็นก็มีแต่ความสดชื่น ขอให้เก็บน้ำขุ่นไว้ข้างใน น้ำใสไว้ข้างนอก เพื่อควบคุมอารมณ์

                2.6          การพูด ฝึกตนเองให้เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์

                                อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก

                                แต่ลมปากหวานหูมิรู้หาย

                                อันเจ็บอื่นหมื่นแสนยังแคลนคลาย

                                เจ็บจนตายก็เพราะเหน็บให้เจ็บใจ

                คำพูดอาจเป็นอาหารจิตใจ ถ้าคนพึงพอใจก็สุข อย่าให้คนฟังทุกข์เพราะคำพูดเลย ฉะนั้นปัญหาหรืออุปสรรคในการสร้างมนุษยสัมพันธ์อยู่ที่คำพูด จึงควรฝึกพูด พูดแต่ดี อย่าดีแต่พูดไม่มีใครพูดดีมาแต่กำเนิด การพูดฝึกกันได้ แต่นักพูดที่ดี ต้องอ่านมาก เขียนมาก ศึกษามาก รู้มาก จึงจะพูดได้ดี แต่ผู้ที่อ่านมาก มีความรู้มาก พูดได้ดี พูดไม่เป็น พูดแล้วคนฟังเบื่อก็มีเยอะ ฉะนั้นการพูดดีมีศิลปะในการพูด ให้คนฟังจับใจ ถูกใจ ศึกษาฝึกฝนกันได้ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะทำได้ คำพูดที่ควรพูดให้ติดปากเสมอคือ ขอบคุณ  ขอโทษ  ขอแสดงความยินดี  ขอแสดงความนับถือ  ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ  อย่าลืม  คิด  ใคร่ครวญ  ทบทวน  แล้วพูด  อย่าพูดแล้วคิดและคนที่ดีก็คือคนที่รู้จักแก้ไข ปรับปรุง พัฒนาตนเองอยู่เสมอ

                2.7          คำถาม  การถามเป็นคำพูดในการสนทนา ประชุม ทำให้ผู้ฟังสนใจเบื่อหน่าย และส่อเจตนา เข้าใจถึงปัญหา ความรู้ของผู้ถามได้อย่างดียิ่งขึ้น ดังภาษิตที่ว่า  สำเนียงส่อภาษา กิริยาบอกตระกูลถ้าถามไม่เข้าท่า คนถามก็คิดเอง ฉะนั้นคิดก่อนถาม กริยาท่าทาง น้ำเสียงของคำถาม ก็มีส่วนช่วยบุคลิกของผู้ถามทั้งนั้น พอจะแบ่งประเภทคำถามออกได้ดังนี้

                                2.7.1       ถามเพื่อทราบข้อเท็จจริง หาลู่ทางที่จะ               นำไปสู่ปัญหา

                                2.7.2       ถามเพื่อให้อธิบาย หาสาเหตุ หาเหตุผล จะได้เข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น

                                2.7.3       ถามเพื่อยั่วยุให้แสดงความเห็น เพื่อหา              ความคิดใหม่ จะได้พิสูจน์ด้วยเหตุผลของ                                                          ใครดีกว่ากัน

                                2.7.4       ถามเพื่อเปลี่ยนการสนทนา เพื่อหาบรรยากาศที่สนุกสนานหากที่ประชุม                                                                     กำลังเครียด

                                2.7.5       ถามให้เลือกเพื่อเสนอแนะทางออก

                                2.7.6       ถามเพื่อขอความร่วมมือ ตกลงและนำไปสู่การปฏิบัติ

                                2.7.7       ประเภทคำถาม กรุณาถามให้ผู้ตอบใช้              ความคิด อาทิตย์                  

                                                                1.             คุณคิดอย่างไรกับสถานการณ์อย่างนี้

                                                                2.             คุณพอจะมีทางแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร

                                                                3.             คุณกำลังคิดอะไร กำลังจะบอกใช่ไหม

                                                                4.             คุณจะเสนออะไรในกรณีนี้

                                                                5.             จากประสบการณ์ของคุณ ปัญหา                                                                                      เช่นนี้จะช่วยผมได้ไหม เหล่านี้เป็นต้น และไม่ควรถามให้ผู้ตอบรู้สึกอึดอัดใจไม่มีทางเลือก

                                                2.7.8       ลักษณะของคำถามที่ดี ตอบได้ง่าย ตรงไปตรงมา สั้น ชัดเจน ให้ข้อคิด                                                                         ให้วางแผน และให้ความเชื่อมั่น เป็นต้น

                                2.8          การฟัง การฟังมีความสำคัญมาก จงตั้งใจฟังด้วยความสนใจ ตั้งใจ จริงใจ เข้าใจ เพื่อช่วยให้บรรยากาศการประชุมสัมมนา มีบรรยากาศที่ดี ผู้ที่รู้มาก มักฟังมากกว่าพูด แต่ผู้ที่รู้น้อย มักพูดมากกว่าฟังหรือผู้รู้มากเหมือนรวงข้าวที่มีเมล็ดเต็มโน้มต่ำติดดิน แต่รวงข้าวที่มีเมล็ดลีบก็ชูเด่นเหมือนเด็กๆ ที่เพิ่งสอนพูดใหม่ๆ พูดได้ทั้งวัน อย่าลืมสุภาษิตที่ว่า             พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทองยังใช้ได้เสมอ และมีข้อที่ไม่ควรปฏิบัติระหว่างการฟัง คือ

                                                2.8.1       คอยหาโอกาสโต้แย้ง ขัดจังหวะ รีบสรุปและวิจารณ์ ขอให้คิดถึงสุภาษิต                                                                      ที่ว่า อย่าเป็นคนหูเบา อย่าเป็นคนฟังมิได้ศัพท์จับมากระเดียด จงฟังหูไว้หู สิ่งเหล่านี้ยังใช้ได้

                                2.9          ดวงตา มีสุภาษิตในหนังสือพระร่วงบทหนึ่งกล่าวว่า อย่าขุดคนด้วยปาก อย่าถากคนด้วยตา อย่าพาผิดด้วยหูยังใช้ได้เสมอ มนุษย์แสดงออกได้ทั้ง การพูด  การเขียน  ท่าทาง และดวงตา จะรักจะชังกัน ดวงตามันฟ้อง เพราะดวงตาเป็นหน้าต่างของดวงใจ จริงไหม เวลาพูดขอให้ปากกับใจตรงกัน หลอกกันมิได้หรอก สุนัขก็ยังรู้เลยว่าปากกับใจตรงกันไหม จึงมีคำกล่าวที่ว่า เวลาใครพูดมาก ถ้าปากกับตาไม่ตรงกัน ขอให้เชื่อดวงตา ดีกว่า เชื่อลมปาก จริงไหม จงฝึกตนให้เป็นคน พูดจริง จากใจจริง ด้วยความจริงใจแล้วจะได้รับความไว้วางใจ แล้วจะก่อให้เกิดมิตรภาพที่ดี

                                2.10 ใจ ใจก็มีส่วนสัมพันธ์กับลักษณะต่างๆ จงฝึกให้เป็นคน จริงใจ ใจจริง จริงจัง จิรังยั่งยืน คือ คนเสมอต้นเสมอปลาย คงเส้นคงวา

                                2.11 บุคลิก ลักษณะบุคลิกของคน ฝึกได้พัฒนาได้ ถ้าเราเป็นคนอยากพัฒนาปรับปรุงตนเองไม่ใช่ของยากเลย อาทิ

                                                1.             ฝึกให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง พึ่งตนเอง

                                                2.             ฝึกให้เข้ากับคนอื่นได้ พยายามชอบคน              อื่นแล้วเขาจะชอบเรา

                                                3.             ฝึกให้เป็นคนกระปรี้กระเปร่า ว่องไวกระฉับกระเฉง

                                                4.             ฝึกให้เป็นคนตรงต่อเวลา ควบคุมตนเองให้ได้

                                                5.             ฝึกให้รู้จักกาลเทศะ รู้จักให้ เห็นใจคน

                                                6.             ฝึกแต่งกายให้สะอาด เรียบร้อย สุภาพ มีชีวิตชีวา

                                2.12 การทำงาน  การทำงานต้องรู้จักใจนาย เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง ให้เข้าใจกันให้ได้ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความอึดอัด ข้อขัดแย้ง ความไม่สบายใจ ให้พอใจในการทำงาน จึงควรปฏิบัติตนกับหัวหน้าของเราดังนี้

                                                1.             หัวหน้าจะรู้ปัญหา อุปสรรค จากเราเป็นคนแรก มิใช่ให้ท่านเรียกไปถาม

                                                2.             หัวหน้าจะรู้ข้อบกพร่อง ผิดพลาดของเราจากเรา มิใช่จากผู้ร่วมงาน หรือท่านไปพบด้วยตนเอง แต่ทั้งนี้เราจะต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นคนที่

                                                                2.1          รู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบ

                                                                2.2          รู้ความจำเป็นของหัวหน้าที่จะต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับงานของเรา

                                                                2.3          มีความเข้าใจ รู้ใจ หัวหน้าดี และรู้ว่าอะไรควรรายงาน อะไรไม่ควร หัวหน้าเพียงคนเดียว ยังชนะใจไม่ได้ แล้วจะไปชนะใจคนอื่นๆ ได้อย่างไร พยายามนึกถึงหัวใจเรา ถ้าเราเป็นนายเขาบ้าง เราชอบแบบไหน

                                2.13 การเป็นหัวหน้าคน ใครๆ ก็เป็นได้ แต่จะเป็นได้ดีแค่ไหน เพียงใด หัวหน้าต้องรู้ความแตกต่างของลูกน้องแต่ละคนของตนดี รู้ทั้งจุดอ่อน จุดแข็ง ของแต่ละคน จะได้สั่งงานเขาแต่ละคนได้ ปกติคนหรือลูกน้องมี 2 ประเภท คือ

                                                                1.             ประเภทหัวดื้อ หัวรั้น พวกนี้ชอบคัดค้านก่อนเสมอ ลังเลในการเปลี่ยนความเห็น ไม่ยอมจำนนในการโต้เถียง ไม่ยอมรับคำแนะนำ แสดงความไม่พอใจเมื่อสั่งให้ทำงานและไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง

                                                                2.             การสั่งงาน ขออย่าสั่งกับพวกหัวดื้อ แต่พูดว่า ช่วยทำนี่ให้หน่อยนะขอร้องจะดี อย่าลืมโคนันทวิศาลชอบพูดหวาน ไพเราะ

                                โดยสรุป การปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย สมความปรารถนาได้นั้นต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี โดยถือ

                                ก.            มีไมตรี เมตตา เป็นมิตร มีมารยาท

                                ข.             หนักแน่น แนบเนียน  นอบน้อม ไม่เหนียวหนี้

                                ค.            ยิ้มแย้ม ยินดี ยกย่อง หยุด (ลด ละ เลิก)

                                ง.             สัจจะ  เสียสละ สามัคคี สงเคราะห์

                                จ.             พูดเพราะ พิจารณา  พร้อม

 

                               

ส่งมาโดย  ผศ.นาม  ศิริเสถียร  ( 945 )

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น