วันพุธที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การพัฒนาจุดแข็งของตนเพื่อความสำเร็จในชีวิต


การพัฒนาจุดแข็งของตนเพื่อความสำเร็จในชีวิต


                เรื่องของจุดแข็งและจุดอ่อนในแต่ละคนนั้น ได้มีผู้ที่ศึกษาและถ่ายทอดความรู้ในเรื่องนี้ไว้หลายท่าน แต่ในที่นี้จะขอนำงานเขียนของ MARCUS BUCKINGHAM และ DONALD O. CLIFTON, Ph.D. มาคุย

เนื่องจากว่างานของสองท่านนี้น่าสนใจ ซึ่งร่วมรวมข้อมูลมากว่า 30 ปี และผู้คนที่เกี่ยวข้องก็ประมาณ 2 ล้านคน  มีการสัมภาษณ์ในระดับผู้บริหารอีกกว่า 80,000 หมื่นคน จากการที่เขาได้ทำงานกันมาขนาดนี้ ก็ทำให้เขาพบว่า ความผิดพลาด 2 อย่าง ของบริษัทหรือองค์กร ก็คือ มีสมมุติฐานที่ผิดอยู่ 2 ข้อคือ

1. เราทุกคนเรียนรู้ในเรื่องใดก็ได้แทบทุกเรื่อง 

2. การพัฒนาที่ดีที่สุดคือทุ่มความสนใจที่จุดอ่อน 

                โอกาสที่จะประสบความสำเร็จนั้นพบว่า พรสวรรค์ของแต่ละคนมีความยั่งยืน และมีความพิเศษเฉพาะตัว ถ้าหากได้มุ่งเน้นพัฒนาจุดแข็งของคนๆ นั้นแล้ว มันจะเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลที่สูงกว่า เพราะเขาเคยทำการสำรวจในคน 1.7 ล้านคน 101 บริษัท 63 ประเทศ พบว่าในแต่ละวันได้เอาศักยภาพที่ดีทีสุดของตัวเองมาทำงาน เพียงแค่ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง โดยจะขอนิยามคำศัพท์ต่างๆ ดังนี้ 

จุดแข็ง คือ การทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งได้แทบสมบูรณ์แบบอย่างสม่ำเสมอ เราจะถือว่าเป็นจุดแข็ง ได้เมื่อสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอจนคาดหวังได้

จุดอ่อน ก็คือ อะไรก็ตามที่มาขัดขวางการปฏิบัติให้เป็นเลิศ 

พรสวรรค์ มีคุณสมบัติอย่างน้อย 4 ข้อ คือ 1. ชอบทำ  2. มีความปรารถนา 3. เรียนรู้ได้เร็ว 4. ทำแล้วรู้สึกดี

ส่วนในเรื่องของจุดอ่อน ใครได้ยินก็อยากจะกำจัดทิ้งเสีย แล้วเราจะมีกลยุทธ์ในการกำจัดจุดอ่อนได้อย่างไร

1. ทำดีขึ้นอีกนิด อย่าไปคาดหวังว่าเราจะแก้ทุกอย่างภายในวันเดียว เพียงแค่ว่าเราทำดีกว่าเดิมอีกนิดเดียว  

2. ลองใช่ความคิดสร้างสรรค์ บางทีอาจจะได้อะไรใหม่ๆ

3. ถ้ามันต่อต้านกันก็เอาจุดแข็งมาลบจุดอ่อน  

4. ลองหาคนที่จะมาเป็นคู่คิด

5. ถ้าทำ 4 ข้อ ทั้งหมดแล้วยังไม่ดีขึ้นก็เลิกทำ อย่าไปดันทุรังเลย

ส่วนจุดแข็งนั้นจะมีลักษณะเฉพาะคือ

1. เราสามารถที่จะคาดหวังผลได้

2. จุดแข็งจะมีลักษณะเฉพาะจริงๆ

3. ถ้าเราอยากจะเป็นเลิศ เราต้องเพิ่มพูนจุดแข็ง มากกว่าที่จะไปลบจุดอ่อน

จุดแข็งในที่นี่มีทั้งหมด 34 ประการด้วยกันคือ

นักจัดการ
 ความเชื่อ
บัญชาการ
การสื่อสาร
การแข่งขัน
ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยง
ความยุติธรรม
การคำนึงถึงสิ่งรอบข้าง
ระมัดระวัง  
นักพัฒนา
ระเบียบวินัย
ความเห็นอกเห็นใจ
เป้าหมายชัดเจน
อนาคต
ความกลมเกลียว
ความคิด
ต้อนรับ
ความเป็นปัจเจกบุคคล
ป้อนข้อมูล
นักคิด
ใฝ่รู้ 
ความเป็นเลิศ
มองโลกในแง่ดี
สร้างสัมพันธ์
การมีความรับผิดชอบ
ปรับปรุงแก้ไข
ความเชื่อมั่นในตนเอง
ความสำคัญ
เจ้ากลยุทธ์
ชนะใจ


ทั้งหมด 34 ข้อนี้ เราไม่ต้องไปคาดหวังว่าเราจะมีทั้ง 34 ประการ เพราะเราจะมีแค่ 5 ข้อ เท่านั้น และเราก็พัฒนา 5 ข้อของเราให้เก่งยิ่งๆ ขึ้น ก็จะทำให้เราเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพยิ่งขึ้นต่อไป

จุดอ่อนในที่นี่มีด้วยกัน 2 แบบ คือ

1.จุดอ่อนในเรื่องของความรู้ความสามารถ

2. จุดอ่อนในด้านความประพฤติ ในด้านนี้เพิกเฉยไม่ได้

                แม้พระอรหันต์ยังต้องฝึกตัวเองต่อเนื่อง  อย่างเช่นพระสารีบุตร ด้วยความที่ว่าท่านเคยเกิดเป็นลิงถึง 500 ชาติ พอเจอหนองน้ำก็กระโดดข้าม แทนที่จะเดินข้ามไป ตอนกลางคืนก็ไปจำวัดอยู่บนต้นไม้

                การฝึกจุดแข็งนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์เวลาฝึกหรือสอนใครท่านก็ใช้จุดแข็งของแต่ละคน ไม่ได้ดูแค่ตาเห็น แต่ท่านระลึกชาติไปดูด้วยว่าคนๆ นี้เคยเกิดเป็นอะไรมา อัธยาศัยไปทางด้านไหน ต้องพูดยังไง สอนยังไงถึงจะโดนใจเขาอย่างเช่น เมื่อท่านไปโปรด ชฎิล 3 พี่น้อง ที่ชอบบูชาไฟ จดจ่ออยู่กับไฟ พระองค์จึงเลือกที่จะเทศนาอาทิตตปริยายสูตร เมื่อฟังธรรมจบจึงบรรลุเป็นพระอรหันต์เลย เพราะมันโดนใจ หรือถ้าเป็นการสอนในสมัยใหม่ ที่เรียกว่า Child Center  คือ การจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สอนให้ตรงใจเขาก็จะเข้าใจได้ง่าย

                ดังนั้นถ้าเราจะสอนตัวเราเองก็เช่นกัน เราต้องเข้าใจจุดอ่อน จุดแข็งของเราเองให้ดี แล้วก็ปรับนิสัยตัวเองให้ดี ฝึกลักษณะเด่นของเราเองให้ดี เต็มที่ยิ่งขึ้น ส่วนจุดอ่อนให้แง่การงาน ก็ไม่ต้องถึงกับไปทุ่มเทเวลาทั้งหมดอยู่กับจุดอ่อนจนกระทั่งละเลยจุดแข็ง เพราะฝึกจุดอ่อนฝึกแล้วมักจะไม่ค่อยได้ดีเท่าไหร่ แต่ให้ทุ่มเทจุดแข็งให้เยอะๆ แต่จุดอ่อนเรื่องความประพฤติก็ต้องตั้งใจเอาจริงเอาจังในการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น แล้วเอาเวลามาทุ่มเทจุดแข็งเพื่อเอาไปทำงานที่เหมาะสมกับเรา อย่างนี้ละก็เราก็จะประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างดีเยี่ยม  

ที่มา: รายการทันโลกทันธรรม ตอนเจาะจุดแข็ง.  www.dmc.tv

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น