วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

เล่าเรื่องสหกรณ์ออมทรัพย์ในต่างแดน

เล่าเรื่องสหกรณ์ออมทรัพย์ในต่างแดน
                                                                              โดย ศิษย์ X-MBA .เกษตรศาสตร์
 

   ผมไม่คาดคิดมาก่อนเลยว่าจะได้รับ Line จากท่านอาจารย์ ดร.วิวัฒน์ แดงสุภา นายเก่าผมเมื่อครั้งท่านเป็นผู้บริหารชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด อยู่หลายสมัย ท่านบอกให้ผมช่วยเขียนเรื่องเล่าเกี่ยวกับสหกรณ์ออมทรัพย์ของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเซียมาลงพิมพ์ในจุลสารของสหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำกัด  เพื่อให้ได้กลิ่นอายบรรยากาศของการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community:AEC) แต่เอาแบบเบาๆ สบายๆ ไม่หนักวิชาการมากนัก ให้ผมส่งมาก่อนถ้าไม่ได้เรื่องอาจารย์ก็จะโยนทิ้งไปเอง ดังนั้นหากท่านได้อ่านแล้วเห็นว่าไม่ได้เรื่องก็คงต้องไปต่อว่าเอากับอาจารย์วิวัฒน์เองนะครับ

 

                 พวกเราคงคุ้นหูกันแล้วกับคำว่า"อาเซี่ยน "ชื่อเต็มคำก็คือ"สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nation:ASEAN)" มีสมาชิก10 ประเทศได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างสันติภาพและความร่วมมือด้านต่างๆในภูมิภาคนี้ ความจริงเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.. 2510 นานกว่า 55 ปีแล้ว ทำไมถึงได้เพิ่งมาฮือฮากันมากในช่วงนี้ ไปไหนมาไหนทุกสื่อทุกภาคส่วนทั้งราชการและเอกชนพูดคุยนำเสนอกันแต่เรื่องการเตรียมความพร้อมกับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยน แม้กระทั่งคณะเศรษฐศาสตร์ ภาควิชาสหกรณ์ ม.เกษตรศาสตร์ ยังต้องจัดการสัมมนาระหว่างประเทศเรื่องCooperative Business Inter-cooperation Forward to AECเพื่อเกาะกระแสชิงบทบาทนำทางวิชาการด้วยเรื่องของเรื่องมาจากการประชุมสุดยอดอาเชียนปี 2550  ที่สิงคโปร์ บรรดาผู้นำอาเซี่ยนมานั่งประชุมกันแล้วเห็นว่าคบกันมาตั้ง40ปีแล้วยังไม่เห็นมรรคผลอะไรเท่าไร ก้าวหน้าที่ละคืบสองคืบแถมยังมาตีกันเองอีกขณะที่ภูมิภาคอื่นได้มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างความสามารถทางการแข่งขันกันอย่างกว้างขวางหากหมู่เฮาชาวอาเซี่ยนต้วมเตี้ยมๆอยู่เช่นนี้คงต้องตกเป็นเบี้ยล่างถูกกีดกันเอารัดเอาเปรียบจากภูมิภาคอื่นอย่างแน่นอน โดยเฉพาะจากประเทศมหาอำนาจต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่หมู่เฮาต้องกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันให้เป็นรูปธรรมโดยด่วน จึงตกลงร่วมกันที่จะนำประเทศของตนเข้าร่วมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซี่ยนภายในปี 2558 โดยมีเป้าหมาย 4ประการคือ 1)มีตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน 2) มีความสามารถแข่งขันสู3)สร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจ และ 4)เข้าร่วมกับประชาคมโลก ยุทธศาสตร์ต่างๆจึงถูกกำหนดออกมาเป็นระยะๆจากทุกภาคส่วน

    

     ในภาคการสหกรณ์เองก็ไม่ตกกระแสได้มีการจัดประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงภาครัฐผู้กำกับดูแลงานสหกรณ์ของประเทศในอาเซี่ยน

ครั้งที่ 1 (The 1st ASEAN Regulators/ Senior Officials of Co-operative Meeting )ขึ้น ณ เมืองปุตราจายา มาเลเซีย เมื่อเดือนกรกฎาคม 2555 มีท่านจิตรกร สามประดิษฐ์ รองอธิดีกรมส่งเสริมสหกรณ์และคณะ เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการหลายประการคือการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานร่วมของผู้กำกับดูแลงานสหกรณ์ของประ

เทศในอาเซี่ยน การจัดการประชุมรัฐมนตรีสหกรณ์อาเซี่ยน การจัดทำกฎบัตรสหกรณ์อาเซี่ยน การจัดตั้งกองทุนพัฒนาสหกรณ์อาเชียน รวมถึงการจัดตั้งชมรมหรือสมาพันธ์สหกรณ์อาเซี่ยน เป็นเรื่องที่สร้างสรรน่ายินดีและปรบมือให้ ความคืบหน้าเป็นอย่างไรต้องติดตามดูกันต่อไป เสียดายก็แต่เพียงบรรดาผู้นำขบวนการสหกรณ์ไทยที่ยังสงบนิ่งอยู่ ไม่รู้ว่ากำลังร่วมกันซุ่มวางกลยุทธ์ หรือว่ายังแตกแยกเป็นหลายก๊กรวมกันไม่ติด ถ้าเป็นอย่างหลังก็อย่าเพิ่งคิดเข้าสู่AECเลย จะพาชาติอื่นเขาปั่นป่วนไปหมด ให้สิงคโปร์ มาเลเซีย หรือเวียดนามเป็นผู้นำแล้วกัน

    

                   ฉบับหน้าจะมาเล่าให้ฟังถึงขบวนการสหกรณ์ออมทรัพย์ในระดับภูมิภาคเอเซียและระดับโลก สวัสดีครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น