วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ต่างกันอย่างไร


สหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ต่างกันอย่างไร

ศาสตราจารย์พิเศษ อาบ นคะจัด (77)

นายกสมาคมเศรษฐศาสตร์สหกรณ์แห่งประเทศไทย

 

            สถาบันการเงินในรูปสหกรณ์ ที่ทำธุรกรรมการซื้อหรือการขายเงินและเงินทุนในระบบสหกรณ์หรือนอกระบบสหกรณ์เป็นหลักในประเทศไทยเวลานี้  คือ สหกรณ์ประเภทออมทรัพย์และสหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยน ทั้งนี้ภายใต้กฎหมายสหกรณ์และกฎหมายพื้นฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง

            สหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ (สอ.) คือสหกรณ์ที่สมาชิกมีอาชีพเป็นลูกจ้าง มีรายได้ประจำเป็นเงินเดือนของหน่วยงานภาคราชการ ภาครัฐวิสาหกิจหรือภาคเอกชน เขตหรือแดนรับสมาชิกคือความเป็นบุคลากรสังกัดหน่วยงานนั้นๆ ไม่ใช้เขตแดนการปกครองเช่น ตำบล อำเภอ หรือจังหวัด เป็นเขตแดนรับสมาชิก

            ส่วนสหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยน (สค.) คือ สหกรณ์ที่สมาชิกมีอาชีพแตกต่างกันแต่อยู่ในชุมชนเดียวกัน เช่น เป็นลูกจ้างหน่วยงานภาคราชการ ภาครัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระอยู่ในเขตการปกครองเดียวกัน เช่น ตำบล อำเภอ หรือจังหวัดเดียวกัน

            เมื่อนำข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณธุรกิจ” 2 อย่างคือเงินรับฝากและเงินให้กู้ยืม ระหว่างปี 2550-2554 (5 ปี) (ดูตารางท้ายบทความ) มาวิเคราะห์เชิงโครงสร้าง (Structural Analysis) และอัตราเติบโต (Growth Rate Analysis) แล้ว พบว่า

            ปริมาณธุรกิจ 2 รายการ คือจำนวนเงินรับฝากและเงินให้กู้ของสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ลดลง จากร้อยละ 98.13 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 96.84  ในปี 2554 หรือลดลงร้อยละ 1.31 เฉลี่ยปีละ 0.26%

            ส่วนปริมาณธุรกิจ 2 รายการดังกล่าวของสหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยน เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 1.87 ในปี 2550 เป็นร้อยละ 3.16 ในปี 2554 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.00 เฉลี่ยปีละ 14%

            เหตุผลที่เป็นตามผลการวิเคราะห์ดังกล่าว ก็คือ สหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ในหน่วยงานภาคราชการ ภาครัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ในชุมชนเมืองได้มาถึงจุดอิ่มตัวด้านจำนวนสมาชิกที่จะฝากเงินหรือที่จะกู้เงิน แม้จำนวนเงินรับฝากและเงินให้กู้รวมกันในปี 2554 ของ สอ. จะเพิ่มจากปี 2550 ค่อนข้างสูงคือร้อยละ 68.00 เฉลี่ยปีละ 14% แต่เมื่อเทียบกับจำนวนเงินรับฝากและเงินให้กู้รวมกันของ สค. ในปี 2554 ที่เพิ่มจากปี 2550 ร้อยละรวมกัน 187.93 เฉลี่ยปีละ 37.60 ซึ่งสูงกว่าของ สอ. เกือบ 3 เท่าในเชิงสถิติ ทั้งนี้ก็เพราะว่า สค. มีสมาชิกที่มีอาชีพแตกต่างกันเข้าเป็นสมาชิกได้ ไม่จำกัดเฉพาะอาชีพใดอาชีพหนึ่ง และทยอยเกิดมากขึ้นในชุมชนชนบทในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ จึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมากของจำนวนเงินรับฝากและเงินให้กู้รวมกันของ สค. ในเชิงสถิติ

          ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีระบบกฎหมายเกี่ยวกับสถาบันการเงินแตกต่างจากของประเทศไทย แต่พอจะนำมาเปรียบเทียบให้เห็นว่า บริการของสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์ และบริการของสหกรณ์ประเภทเครดิต    ยูเนี่ยน มีวัตถุประสงค์หลักแตกต่างกัน เมื่อปี .. 1831 (.. 2374) ได้เกิดมีสถาบันการเงินในรูปธนาคาร (Bank) มีชื่อว่า “Savings and Loan Associations” “สมาคมออมทรัพย์และให้กู้ยืมเพื่อเป็นกลไกรับฝากรวบรวมเงินออมของชุมชนเดียวกัน เพื่อให้เงินกู้เป็นทุนซื้อที่อยู่อาศัย หน้าที่หรือบริการให้เงินกู้เป็นทุนซื้อที่อยู่อาศัยนี้ ยังเป็นหน้าที่หรือบริการหลักของสถาบันการเงินประเภทนี้อยู่จนถึงปัจจุบัน สถาบันการเงินประเภทนี้ประมาณ 5,000 แห่ง เกือบทั้งหมดปล่อยเงินออมของชุมชนเป็นเงินกู้แก่คนในชุมชนเป็นเงินทุนซื้อที่อยู่อาศัย แล้วนำมาจำนองประกันเงินกู้ของสถาบันการเงินในรูปธนาคาร ดังกล่าว

            ในคาบเวลาเดียวกัน ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีสถาบันการเงินอีกประเภทหนึ่ง เรียกชื่อว่า “Credit Unions” คือสมาคมสหกรณ์ออมทรัพย์และให้เงินกู้จัดตั้งขึ้นโดยเอกชนที่เป็นสมาชิก ซึ่งผูกพันกัน มีอาชีพอย่างเดียวกัน เช่นมีอาชีพเป็นลูกจ้างของผู้ประกอบการขนาดเล็ก หรือเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานเช่นกัน โดยทั่วไป สมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมีเงินฝากแต่ละคนจำนวนไม่มาก แต่ได้ใช้ประโยชน์เงินออมที่แต่ละคนนำมารวมกันไว้ที่สหกรณ์ในรูปหุ้นและเงินฝาก เงินที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนให้สมาชิกกู้ยืม เป็นการให้เงินกู้เพื่อการอุปโภคบริโภค เพราะเป็นเงินให้กู้จำนวนไม่มากแต่ละราย ในยุคปี .. 1831 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในสหรัฐอเมริกามีจำนวนประมาณ 22,000 สมาคม มีเงินฝากรวมกันไม่ถึง 5% ของเงินรับฝากของสถาบันการเงินทั้งประเทศ สหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทยก็มีลักษณะการออมทรัพย์ในรูปหุ้นและเงินฝาก รวมทั้งการให้กู้ยืม คล้ายกับของสถาบันการเงินที่เรียกว่า Credit Unions ในสหรัฐอเมริกา

ตารางแสดงปริมาณธุรกิจเงินรับฝากและเงินให้กู้ของสหกรณ์ออมทรัพย์และของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ปี 2550-2554 (5 ปี)
รายการ
2550
2551
2552
2553
2554
%อัตราเพิ่มหรือ (ลด)
สหกรณ์ออมทรัพย์
--------------------------------------------ล้านบาท--------------------------------------------------------
(1) เงินรับฝาก
199,859.00
222,538.00
249,024.00
334,969.00
350,419.00
(2) เงินให้กู้ยืม
567,150.00
624,001.00
711,275.00
784,995.00
936,603.00
รวม
767,009.00
846,539.00
960,299.00
1,119,964.00
1,287,022.00
67.80
%
98.13
98.01
97.55
96.91
96.84
(1.00)
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
(1) เงินรับฝาก
6,712.00
8,438.00
12,297.00
20,119.00
24,568.00
(2) เงินให้กู้ยืม
7,882.00
8,731.00
11,862.00
15,573.00
17,452.00
รวม
14,594.00
17,169.00
24,159.00
35,692.00
42,020.00
187.93
%
1.87
1.99
2.45
3.09
3.16
69.00
รวม สอ.และ สค.
     781,663.00
 863,708.00
 984,458.00
 1,155,656.00
  1,329,042.00
 
%
100.00
100.00
100.00
100.00
100.00
ที่มา : (1)  ตัวเลขดิบจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น