วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

คิดเล่น ๆ ให้เห็นความจริง : ลักษณะพิเศษของสหกรณ์ไทย


โดย  ครูรงค์

 เห็นชื่อเรื่องอย่างนี้ ท่านผู้อ่านหลายท่านอาจจะสงสัยว่า สหกรณ์ไทยมีลักษณะพิเศษอะไรที่แตกต่างไปจากสหกรณ์ของประเทศอื่นๆ อย่างไรหรือ

ลองมาดูกัน  องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล (International Cooperative Alliance - ICA) ได้ให้ความหมายของสหกรณ์เอาไว้ว่า สหกรณ์ คือ องค์การอิสระของบรรดาบุคคลซึ่งรวมกลุ่มกันด้วยความสมัครใจ เพื่อสนองความต้องการอันจำเป็น และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกันและมีการควบคุมตามหลักประชาธิปไตย

นอกจากการกำหนดความหมายของสหกรณ์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว องค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากลยังได้กำหนดหลักการดำเนินการของสหกรณ์ที่สำคัญไว้อีก 7 ประการ คือ หลักการเข้าเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง หลักการควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย หลักการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสมาชิก หลักการปกครองตนเองและความเป็นอิสระ หลักการให้การศึกษา ฝึกอบรม และสารสนเทศ หลักการร่วมมือระหว่างสหกรณ์ และหลักการเอื้ออาทรต่อชุมชน

แน่นอนว่า ความหมายของคำว่าสหกรณ์และหลักการดำเนินการของสหกรณ์ทั้ง 7 ประการดังกล่าวข้างต้น ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ชาวสหกรณ์โดยทั่วไปทราบและคุ้นเคยกันดีมาเป็นเวลานานแล้ว และสหกรณ์ทั้งหลายในประเทศไทย ก็ล้วนแล้วแต่มีลักษณะและการดำเนินการเช่นเดียวกันไม่เห็นว่าจะมีอะไรที่พิเศษแตกต่างออกไป

แต่ช้าก่อน ตามกฎหมายสหกรณ์ของไทยนั้น การดำเนินการร่วมกันของคณะบุคคลที่จะถือว่าเป็นสหกรณ์ได้ จะต้องจดทะเบียนตามกฎหมายสหกรณ์เสียก่อน ดังจะเห็นได้จาก พระราชบัญญัติสหกรณ์ .. 2542 ที่ถือใช้อยู่ปัจจุบันในมาตรา 4 ที่ระบุว่า สหกรณ์ หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้

จากบทบัญญัติของกฎหมายสหกรณ์ดังกล่าว จะเห็นได้ชัดเจนว่า ลักษณะพิเศษของสหกรณ์ไทยคือจะต้องจดทะเบียนตามกฎหมายสหกรณ์  ถ้าไม่จดทะเบียนก็ไม่เป็นสหกรณ์ และเมื่อไม่เป็นสหกรณ์แล้ว จะใช้คำว่า สหกรณ์ เป็นชื่อหรือส่วนหนึ่งของชื่อในทางธุรกิจไม่ได้ (มาตรา 7)  ทั้งนี้โดยมีบทลงโทษว่า ผู้ใดใช้คำว่า สหกรณ์ ประกอบกับชื่อหรือส่วนหนึ่งของชื่อในทางธุรกิจ โดยมิได้เป็นสหกรณ์ที่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายสหกรณ์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกตั้งแต่วันละห้าร้อยถึงหนึ่งพันบาทจนกว่าจะได้เลิกใช้ (มาตรา 129)

ถึงตรงนี้ท่านผู้อ่านอาจมีคำถามว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าการดำเนินการหรือการประกอบการใดจะเป็นสหกรณ์หรือไม่เป็นสหกรณ์  เพราะปัจจุบันมีการใช้คำว่าสหกรณ์เป็นชื่อหรือส่วนหนึ่งแห่งชื่อกันมากมาย

คำตอบก็มีอยู่ว่า เมื่อกฎหมายกำหนดให้สหกรณ์ต้องจดทะเบียน การตรวจสอบความเป็นสหกรณ์จึงสามารถตรวจสอบได้จากทะเบียนสหกรณ์ ถ้าไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียน ก็ไม่เป็นสหกรณ์

อาจมีคำถามต่อไปว่า แล้วผู้ที่ใช้คำว่าสหกรณ์เป็นชื่อหรือส่วนหนึ่งแห่งชื่อโดยไม่ได้จดทะเบียนเป็นสหกรณ์ แต่ไม่ได้ใช้ชื่อนั้นในทางธุรกิจ จะมีความผิดตามกฎหมายสหกรณ์หรือไม่

โอย คำถามยาก อย่างนี้ คงต้องให้ผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ตอบแล้วละ

เขียนไปเขียนมา ทำไมมาลงเอยตรงนี้ก็ไม่รู้

คำตอบก็มีอยู่ว่า ผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย คงมีวิจารณญาณเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพจนานุกรมเพื่อแปลความว่าอะไรคือธุรกิจ  เว้นเสียแต่ว่าผู้รับผิดชอบดังกล่าวจะไม่สนใจหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ของตน

องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ปี .. 2012 หรือ .. 2555 เป็นปีสากลแห่งสหกรณ์ (International Year of Cooperatives – IYC) ขบวนการสหกรณ์ในประเทศต่างที่เป็นสมาชิกขององค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากล (international Cooperative Alliance - ICA ) รวมทั้งประเทศไทย จึงได้จัดให้มีกิจกรรมต่าง ที่เป็นการเฉลิมฉลองปีสากลแห่งสหกรณ์นี้โดยทั่วหน้ากัน

(A cooperative is an autonomous association of persons united voluntarily to meet their common economic, social, and cultural needs and aspirations through a jointly-owned and democratically controlled enterprise.)

มาตรา 4 ในพระราชบัญญัตินี้

สหกรณ์หมายความว่า คณะบุคคลซึ่งร่วมกันดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคม โดยช่วยตนเองและช่วยเหลือซึงกันและกัน และได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ลักษณะพิเศษของสหกรณ์ไทยที่ต่างไปจากสหกรณ์ตามคำจำกัดความขององค์การสัมพันธภาพสหกรณ์สากลนั้น มีประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า  มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากสหกรณ์และสันนิบาลสหกรณ์แห่งประเทศไทย ใช้คำว่าสหกรณ์ เป็นชื่อหรือส่วนหนึ่งของชื่อในทางธุรกิจ

มาตรา 129 ผู้ใดใช้คำว่าสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรประกอบกับชื่อหรือส่วนหนึ่งของชื่อในทางธุรกิจ โดยมิได้เป็นสหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับอีกตั้งแต่วันละห้าร้อยถึงหนึ่งพันบาทจนกว่าจะได้เลิกใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น