วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

ระวัง!!! การต่อเติมปรุงแต่งความคิดของเราเอง


ระวัง!!! การต่อเติมปรุงแต่งความคิดของเราเอง

มีปริศนาชวนคิด ข้อที่อยากให้ลองหาคำตอบ ขอแนะว่าควรใช้เวลาคิดสักพัก ก่อนที่จะไปดูคำตอบข้างล่าง

.แม่ให้เงินเด็กน้อย  ๒๐ บาท พอได้เงินเด็กน้อยก็รีบวิ่งเข้าไปในร้าน เพื่อซื้อขนมราคา บาท  เมื่อเจ้าของร้านยื่นเงินทอน บาท  เด็กน้อยก็รีบคว้าเงินและขนมออกไปจากร้าน คุณทราบไหมว่าทำไมเด็กน้อยจึงทำ เช่นนั้นหากว่าทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้นถูกต้องทุกอย่าง ?

. รถคันหนึ่งชนเสาไฟฟ้าอย่างแรง  ผู้เป็นพ่อตายคาที่  ส่วนผู้เป็นลูกบาดเจ็บสาหัส  ถูกนำส่งโรงพยาบาลเพื่อผ่าตัดสมองรีบด่วน    ศัลยแพทย์ถูกเรียกตัวมาผ่าตัดผู้ป่วยอย่างกะทันหัน  แต่เมื่อเห็นหน้าผู้ป่วยซึ่งนอนหมดสติอยู่บนเตียงผ่าตัด  ศัลยแพทย์ก็ชะงัก และบอกกับคณะแพทย์พยาบาลว่า ตนไม่กล้าผ่าตัดผู้ป่วยคนนี้ด้วยมือของตนเอง  เพราะว่าเขาเป็นลูกของตน   เด็กคนหนึ่งฟังเรื่องนี้แล้ว งงงวยมาก  คุณพอจะอธิบายเรื่องนี้ได้ไหม?

ถ้าคุณตอบข้อ .ว่าเป็นเพราะเจ้าของร้านทอนเงินผิด หรือเด็กขาดสติ จึงฉวยเงินทอนขาดไป ๑๐ บาท  คุณก็ตอบผิด เพราะโจทย์บอกไว้แล้วว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในร้านนั้นถูกต้องทุกอย่าง ไม่มีอะไรผิด  หากคุณใช้เวลานานแล้วยังตอบไม่ได้ ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดามาก เหมือนกับคนส่วนใหญ่ที่นึกอยู่ตลอดเวลาว่าเด็กคนนั้นยื่นธนบัตร ๒๐ บาทให้เจ้าของร้าน ทั้ง ที่โจทย์ไม่ได้บอกเลยแม้แต่น้อย  คำตอบข้อนี้ก็คือ เป็นเพราะเด็กยื่นเงิน ๑๐ บาทให้เจ้าของนั่นเอง

ข้อ ก็เช่นกัน  ถ้าคุณตอบว่าศัลยแพทย์เป็นพ่อบุญธรรม (หรือเป็นอะไรต่ออะไรสุดแท้แต่จะนึก) คุณก็ตอบผิด  ถ้าคุณงงงวย อธิบายเรื่องนี้ไม่ได้ ก็คงเป็นเพราะคุณนึกตลอดเวลาว่าศัลยแพทย์เป็นผู้ชาย ความจริงก็คือศัลยแพทย์ในเรื่องนี้เป็นแม่ของเด็กคนนั้น

ปริศนาทั้ง เรื่องที่จริงไม่ใช่เรื่องยาก แต่ที่ตอบไม่ได้จนสร้างความอึดอัดแก่หลายคน ก็เพราะคนส่วนใหญ่เผลอปรุงแต่งข้อมูลหรือสร้างภาพบางอย่างขึ้นในใจเกินจาก ที่โจทย์ได้ระบุไว้  สิ่งที่ปรุงแต่งต่อเติมนี้เองที่กลายเป็นกรอบหรืออุปสรรคบังตาให้เราหาคำตอบ ไม่เจอ ทั้ง ที่คำตอบนั้นง่ายแสนง่าย กลายเป็นเส้นผมบังภูเขาก็ได้

สิ่งที่ปรุงแต่งต่อเติมนั้นบางครั้งเกิดจากการตีความเอาเอง (เช่น แม่ให้เงินเด็ก ๒๐ บาท ก็เลยนึกต่อไปว่าเด็กยื่นเงิน ๒๐ บาทให้เจ้าของร้าน) หรือเกิดจากประสบการณ์และความคุ้นเคยที่กลายเป็นแบบแผนความคิด (เช่น ศัลยแพทย์ส่วนใหญ่ที่เจอนั้นเป็นผู้ชาย  ดังนั้นพอได้ยินคำว่าศัลยแพทย์ ก็นึกภาพเป็นผู้ชายขึ้นมาทันที)  การปรุงแต่งต่อเติมดังกล่าวเกิดขึ้นทันทีแบบอัตโนมัติจนเราไม่รู้ตัวเลยด้วย ซ้ำ ดังนั้นจึงทำให้หลายคนไม่ทันได้ตระหนักว่าความคิดปรุงแต่งของตนนั้นแหละที่ เป็นปัญหา ไม่ใช่เป็นเพราะโจทย์ผิดหรือบุคคลในโจทย์ทำอะไรผิดพลาด

ความคิดที่ปรุงแต่งต่อ เติมโดยไม่รู้ตัว ไม่ได้เป็นปัญหาเพียงเพราะว่ามันได้ตีกรอบความคิดของเราให้อับจนต่อโจทย์ ง่าย เท่านั้น หากยังเป็นอุปสรรคขวางกั้นไม่ให้เราเกิดความคิดสร้างสรรค์ในเวลาทำงาน ยิ่งกว่านั้นมันยังอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดจนเกิดความวิวาทบาดหมางกัน ด้วย   ตัวอย่างง่าย ก็คือ เรารู้สึกอย่างไรหากได้ยินว่าแฟนสาวของเรานัดพบศัลยแพทย์คนหนึ่งในโรงแรมหรู ยามค่ำคืน  ได้ยินเพียงเท่านี้บางคนก็เกิดความหวาดระแวงในคู่รักของตนแล้ว

การปรุงแต่งต่อเติมจาก สิ่งที่ได้ยินหรือเห็นนั้น บางครั้งก็มีประโยชน์ในการทำให้เรามองได้ลึกไปกว่าปรากฏการณ์ แต่หากเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ก็อาจทำให้เราเห็นความจริงอย่างผิดพลาดคลาดเคลื่อน เกิดความเข้าใจผิดและหวาดระแวงได้ง่ายมาก  ยิ่งเกิดความบาดหมางใจกันแล้ว ก็ยิ่งง่ายที่จะปรุงแต่งต่อเติมในทางลบ จนเห็นอีกฝ่ายเป็นตัวเลวร้าย

การต่อเติมปรุงแต่งหรือ คิดไปเองไม่เพียงนำไปสู่ความวิวาทบาดหมางระหว่างสามีภรรยาหรือเพื่อนร่วมงาน เท่านั้น หากยังสามารถขยายความร้าวฉานของผู้คนจนกลายเป็นความแตกแยกในบ้านเมืองได้         เมื่อฝ่ายหนึ่งพูดหรือกระทำการใด ง่ายมากที่อีกฝ่ายจะตั้งข้อระแวงสงสัยหรือมองไปในทางลบ หากฝ่ายนั้นตระหนักว่านี้เป็นเพียงการคาดการณ์หรือตั้งข้อสงสัยของตน ก็คงไม่ถึงกับหลงเชื่อว่าเป็นความจริง  แต่หากเป็นการปรุงแต่งต่อเติมขึ้นมาเองโดยไม่รู้ตัว ก็ง่ายที่จะสำคัญผิดว่านั่นเป็นความจริง ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นลบ เกิดท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์มากขึ้น กลายเป็นการขยายความขัดแย้งให้ลุกลามมากขึ้น

บ่อยครั้งที่ปัญหาไม่ได้ อยู่ที่คนอื่น หากอยู่ที่ความคิดของเราเอง แม้เป็นการยากที่เราจะรู้ทันความคิดปรุงแต่งของตนทุกเรื่อง เพราะบางเรื่องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก แต่จะดีไม่น้อยหากเราหมั่นตรวจสอบความคิดของตนอยู่เสมอว่าปรุงแต่งต่อเติม จากความเป็นจริงหรือสิ่งที่รับรู้มามากน้อยเพียงใด  นั่นจะช่วยให้เราเป็นนายมัน  หาไม่แล้วมันจะกลายเป็นนายของเราได้ง่ายมาก 

อีเมลส่งต่อจาก รศ.สุวัฒน์ เกียรติเสวี (1930)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น